Illness name: เบาหวานขึ้นตา
Description: เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตันและเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ในช่วงแรกอาจไม่พบอาการหรืออาจมองเห็นผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง แล้วปล่อยไว้ไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด อาการของเบาหวานขึ้นตา ในระยะแรกของภาวะเบาหวานขึ้นตาอาจจะยังไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อ มีความรุนแรงมากขึ้น อาจพบอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นได้ เช่น มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา ตามัว วิสัยทัศน์การมองเห็นแย่ลง สายตาไม่คงที่ แยกแยะสีได้ยากขึ้น หรือสูญเสียการมองเห็น เป็นต้น ซึ่งการดูแลและจัดการกับโรคเบาหวานอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาเป็นประจำทุกปีถึงแม้ว่าการมองเห็นจะยังคงเป็นปกติก็ตาม รวมถึงในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์เพราะการตั้งครรภ์ออาจทำให้อาการต่าง ๆ ของเบาหวานขึ้นตารุนแรงขึ้นได้ และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นอย่างฉับพลัน สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา เบาหวานขึ้นตามีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงจอตาอุดตัน และทำให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นเพื่อทดแทนเส้นเลือดเก่าที่ได้รับความเสียหาย แต่เส้นเลือดใหม่เหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทำให้เลือดหรือสารน้ำอื่น ๆ รั่วไหลเข้าเรตินาได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตาได้ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา เช่น ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน ยิ่งเป็นนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง การไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้น ภาวะเบาหวานขึ้นตาอาจแบ่งได้หลายแบบ แต่ในที่นี้แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การวินิจฉัยเบาหวานขึ้นตา วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นตา คือ การตรวจโดยขยายม่านตา (Dilated Eye Exam) ซึ่งแพทย์จะหยดน้ำยาเพื่อขยายรูม่านตาให้กว้างขึ้น แล้วตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ความผิดปกติของเส้นเลือดในดวงตา การอุดตันของเส้นเลือด อาการบวมของจอตา แผลเป็นหรือเส้นเลือดที่สร้างขึ้นใหม่ เลือดที่รั่วออกมาบริเวณวุ้นตา จอตาลอก หรือความผิดปกติของประสาทตา เป็นต้น หลังการตรวจผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองในช่วงเวลาดังกล่าว ควรพาญาติไปด้วยเพื่อความปลอดภัย รวมถึงอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจสายตา ความดันตา หลักฐานการเกิดต้อกระจก รวมถึงการตรวจจอประสาทตาโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การรักษาเบาหวานขึ้นตา การรักษามีจุดประสงค์เพื่อชะลอหรือยับยั้งอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการ โดยวิธีรักษาแต่ละวิธีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา เบาหวานขึ้นตาอาจนำไปสูู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาและการมองเห็นได้อีกหลายประการ เช่น การป้องกันเบาหวานขึ้นตา การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ความหมาย เบาหวานขึ้นตา