Illness name: โควิด 19 covid 19
Description: โควิด-19 (COVID-19) คือโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้เกิดอาการได้หลายระดับ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก หรือเจ็บคอ มีเพียงบางกรณีที่อาการอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่บางรายอาจไม่แสดงอาการได้เช่นกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จัดอยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัส (Coronavirus) แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยมีการพบการติดเชื้อในคนมาก่อน โดยสามารถแพร่กระจายผ่านการสูดละอองหรือสัมผัสละอองก่อนจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก หรือตา จึงควรระมัดระวังการแพร่กระจายและรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป การติดเชื้อโควิด-19 จะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน อาการหลักของโรคจะคล้ายกับโรคไข้หวัด ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจไม่อิ่มหรือหายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการแสดงออกมาภายใน 2-14 วัน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรงและแสดงอาการทีละน้อย ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการหรือความผิดปกติใด ๆ ส่วนใหญ่สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยวิธีเฉพาะ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการระบบทางเดินหายใจรุนแรงจนเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย มีน้ำมูก เจ็บคอ หรือท้องเสียร่วมด้วย แต่ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น มักจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายของโรคโควิด-19 ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อไวรัส อาศัยหรือเพิ่งกลับจากประเทศในพื้นที่กลุ่มเสี่ยง เป็นต้น ควรไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งถึงอาการที่เกิดขึ้นและปัจจัยเสี่ยงก่อนเข้ารับการตรวจ โควิด-19 มีสาเหตุมากจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้หลายทาง ได้แก่ หายใจเอาเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายในอากาศผ่านการไอหรือจามของผู้ติดเชื้อ สัมผัสสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูกและน้ำลายของผู้ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ ที่เคยปนเปื้อนเชื้อไวรัสมาก่อน แล้วนำมือมาสัมผัสดวงตา จมูก และปากของตนเอง นอกจากจากนี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จะสูงขึ้นหากมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำงานหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อโควิด-19 เช่น บุคคลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรืออาศัยร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในเบื้องต้น แพทย์จะวินิจฉัยจากสัญญาณอาการของผู้ป่วยร่วมกับการซักประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงในช่วง 14 วันก่อนหน้า และการอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 คนอื่น นอกจากนี้ ยังให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเลือด หรือการเก็บตัวอย่างเชื้อ (Swab Test) ที่จะเก็บตัวอย่างน้ำลายหรือสารคัดหลั่งภายในโพรงจมูกหรือคอ เพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการณ์ต่อไป ในปัจจุบัน ยารักษาโควิด-19 ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกับผู้ป่วย การรักษาโรคนี้ในกรณีที่ไม่รุนแรงจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ยาลดไข้หรือยาแก้ไอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และน้ำดื่มเป็นประจำ ร่วมกับการแยกตนเองให้ห่างจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจนกว่าจะหายดี สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลงควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยแพทย์อาจพิจารณาการรักษาที่แตกต่างกันไป เช่น การให้สารน้ำเพื่อลดความเสี่ยงของร่างกายขาดน้ำ การใช้ยาลดไข้ การให้ออกซิเจนบำบัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่หายใจลำบากหรือมีระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรืออาจสั่งจ่ายยาบางชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 ด้วย ดังนี้ เชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น ปอดบวมทั้งสองข้าง ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในหมู่ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน เนื่องจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การป้องกันที่ดีจึงเป็นการเว้นระยะห่างกับผู้ป่วยติดเชื้อ และลดโอกาสที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายตนเองและคนรอบข้าง โดยในเบื้องต้นอาจปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม นอกจากการป้องกันตนเองจากปัจจัยภายนอกด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ทุกคนยังควรดูแลตนเองให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงอยู่เสมอความหมาย โควิด-19 (COVID-19)
อาการของโควิด-19
สาเหตุของโควิด-19
การวินิจฉัยโควิด-19
การรักษาโควิด-19
ภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19
การป้องกันโควิด-19