Illness name: ปวดเอว
Description: ปวดเอว (Flank Pain) คืออาการปวดหรือไม่สบายบริเวณท้องด้านบน หลัง หรือด้านข้าง โดยจะเกิดอาการปวดตรงใต้ซี่โครงและเหนือกระดูกเชิงกราน และมักเกิดอาการปวดที่หลังส่วนล่าง ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดทื่อ ๆ หรือปวดอย่างรุนแรง ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เดียวหรือลามไปส่วนอื่นตามร่างกายก็ได้ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดเอวมักเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต หรือการติดเชื้อที่ไต อาการปวดเอว ผู้ที่เกิดอาการปวดเอวมักเกิดอาการปวดตุบ ๆ ปวดบีบ หรือปวดแปลบเหมือนถูกแทงด้วยของมีคม โดยอาการดังกล่าวจะเป็น ๆ หาย ๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ปวดเอวอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต มักเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที หากเกิดอาการดังกล่าวร่วมกับอาการปวดเอวเรื้อรัง รวมทั้งผู้ที่ปวดเอวมานานและเกิดอาการหรือสัญญาณของภาวะขาดน้ำด้วย เนื่องจากผู้ที่สูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปมากจะทำให้อวัยวะ เซลล์ และเนื้อเยื่อทำงานล้มเหลว นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจนถึงขั้นช็อคได้ ผู้ที่ประสบภาวะขาดน้ำจะเกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะสีเข้ม ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ หากรู้สึกปวดเอวร่วมกับอาการอื่น และอาการเหล่านั้นแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที ซึ่งอาการที่ควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่ สาเหตุของอาการปวดเอว อาการปวดเอวเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งอาการปวดเอวออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ อาการปวดเอวที่เกิดขึ้นที่เนื้อไต อาการปวดเอวที่ไม่ได้เกิดขึ้นที่ไต และอาการปวดเอวอื่น ๆ ดังนี้ การวินิจฉัยอาการปวดเอว แพทย์จะตรวจอาการปวดเอวของผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการดังกล่าว เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติการรักษาและอาการของผู้ป่วย โดยแพทย์จะถามเกี่ยวกับอาการปวดเอว ดังนี้ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายโดยกดหรือเคาะเอวหรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่เกิดอาการปวด รวมทั้งตรวจระบบทางเดินปัสสาวะและระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งการตรวจเพื่อช่วยประกอบการวินิจฉัยสาเหตุ มีดังนี้ การรักษาอาการปวดเอว ปวดเอวมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย โดยวิธีรักษาปัญหาสุขภาพเหล่านั้นแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการปวดเอวสามารถรับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวให้ทุเลาลงได้ เบื้องต้นผู้ป่วยทุกรายควรพักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ที่ปวดเอวจากกล้ามเนื้อหดเกร็งอาจต้องพักผ่อนควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำวิธีออกกำลังกายที่ผู้ป่วย สามารถทำได้เองที่บ้าน ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ผสมสเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drug: NSAIDs) เพื่อลดอาการปวด ส่วนผู้ที่ปวดเอวอันเนื่องมาจากการอักเสบ การติดเชื้อ หรือข้ออักเสบ จะได้รับการรักษาตามอาการของโรคที่ป่วย ผู้ที่เกิดการติดเชื้อที่ไตหรือทางเดินปัสสาวะ อาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยแพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ รวมทั้งให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ข้ออักเสบจะได้รับยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยนิ่วในไตควรรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด รวมทั้งดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อลดจำนวนก้อนนิ่วที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ และช่วยให้ขับก้อนนิ่วออกมาจากไตได้ดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนนิ่ว อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยนิ่วในไตส่วนมากมักไม่ต้องรับการผ่าตัด ผู้ที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่และไม่สามารถขับก้อนนิ่วออกมาได้ อาจต้องได้รับการสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก โดยแพทย์จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายก้อนนิ่วให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถเคลื่อนผ่านทางเดินปัสสาวะออกมาได้ ทั้งนี้ หากเกิดอาการปวดเอวอย่างรุนแรงหรือปวดเอวเรื้อรังหลังรับการรักษา ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาทันที การป้องกันอาการปวดเอว อาการปวดเอวสามารถป้องกันได้ โดยดูแลตัวเองและปฏิบัติ ดังนี้ความหมาย ปวดเอว