Illness name: pheochromocytoma
Description: Pheochromocytoma คือ เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็ง มักเกิดบริเวณต่อมหมวกไตข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองข้างก็ได้ โดยเนื้องอกนี้จะปล่อยฮอร์โมนบางชนิดออกมา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นบางช่วงหรือสูงตลอดเวลา และอาจส่งผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต หรือปอดได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยมักหายเป็นปกติหลังเข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป ผู้ป่วย Pheochromocytoma อาจมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นบางช่วงหรือสูงตลอดเวลา และอาจมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติอย่างฉับพลันวันละหลายครั้งหรือเป็นไม่บ่อยในแต่ละเดือน ซึ่งจะมีอาการบ่อยและรุนแรงมากขึ้นเมื่อเนื้องอกโตขึ้น โดยผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติดังข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางส่วนอาจตรวจพบ Pheochromocytoma โดยบังเอิญ และยังไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏ เช่น ตรวจพบจากการตรวจช่องท้องด้วยอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอสแกน เพื่อวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ในช่องท้องอย่างโรคตับหรือโรคไต เป็นต้น Pheochromocytoma ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มักเกิดร่วมกับการมีเนื้องอกชนิดต่าง ๆ ในระบบประสาท หรืออาจเกี่ยวข้องกับภาวะออกซิเจนในเลือดน้อย ซึ่งเป็นผลจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจแต่กำเนิด เนื้องอกชนิดนี้มักเป็นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น เนื้องอกต่อมไร้ท่อซึ่งอาจเป็นเนื้องอกบริเวณต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ปาก ลิ้น หรืออวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เนื้องอกในระบบประสาท โรคท้าวแสนปมซึ่งอาจเป็นเนื้องอกบริเวณผิวหนังหรือประสาทตา หรือเนื้องอกทั่วร่างกายซึ่งอาจเป็นเนื้องอกบริเวณต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทส่วนกลาง ตับอ่อน หรือไต เป็นต้น นอกจากนี้ ปัจจัยบางอย่างก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคนี้ได้ เช่น แพทย์อาจวินิจฉัยผู้ป่วย Pheochromocytoma จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสัญญาณชีพร่วมกับการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ ดังนี้ Pheochromocytoma มักต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดร่วมกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งแบ่งตามช่วงของการรักษา ดังนี้ ก่อนการผ่าตัด แพทย์มักให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 7-10 วัน ซึ่งผู้ป่วยมักต้องรับประทานยา 2 ชนิดร่วมกัน ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง เพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายขณะเข้ารับการผ่าตัดได้ ระหว่างการผ่าตัด แพทย์มักผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดต่อมหมวกไตข้างที่ผิดปกติทิ้งในกรณีที่ผู้ป่วยมีเนื้องอกต่อมหมวกไตเพียงข้างเดียว แต่หากผู้ป่วยเป็นเนื้องอกต่อมหมวกไตทั้งสองข้างหรือมีต่อมหมวกไตอยู่ข้างเดียว แพทย์จะตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่ผิดปกติทิ้งไป เพื่อให้ต่อมหมวกไตที่เหลืออยู่ทำงานได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่เป็นมะเร็ง ซึ่งแพทย์ต้องตัดเนื้อร้ายทิ้งไปทั้งหมด หลังการผ่าตัด แพทย์อาจให้ยาควบคุมความดันโลหิตอย่างยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อควบคุมความดันโลหิตที่อาจผิดปกติในช่วงแรกหลังการผ่าตัดต่อมหมวกไต หากผู้ป่วยมีผลตรวจชิ้นเนื้อที่ระบุว่าเป็นมะเร็งก็อาจต้องเข้ารับการรักษาต่อด้วยรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งด้วย รวมทั้งอาจต้องรับยาบางชนิดเพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของมะเร็ง ผู้ป่วย Pheochromocytoma ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ประสาทตาเสื่อม ไตวาย รวมทั้งอวัยวะภายในร่างกายทำงานล้มเหล นอกจากนี้ ในระหว่างการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำหรือสูงเข้าขั้นวิกฤต และหากผู้ป่วยเป็นมะเร็งก็อาจเกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในระบบน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือปอดด้วย เนื่องจากไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกัน Pheochromocytoma แต่ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคนี้ และควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญในการรักษาเนื้องอกชนิดนี้ เพื่อให้การรักษาผ่านไปได้ด้วยดีความหมาย เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
อาการของเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
สาเหตุของเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
การวินิจฉัยเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
การรักษาเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา
การป้องกันเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา