Illness name: เต้านมอักเสบ mastitis
Description: เต้านมอักเสบ (Mastitis) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมเกิดการบวมอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ อย่างรู้สึกเจ็บหรือร้อนบริเวณเต้านม หรือเต้านมบวมแดง โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยเฉพาะในช่วง 6–12 สัปดาห์แรกของการให้นม เต้านมอักเสบเป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการอุดทันในท่อน้ำนม การรักษาส่วนใหญ่มักเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ในบางกรณีแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเนื่องจากอาการของภาวะเต้านมอักเสบอาจคล้ายคลึงกับสัญญาณเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด ผู้ที่มีภาวะเต้านมอักเสบมักพบอาการต่าง ๆ บริเวณเต้านมข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว และอาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรมีอาการในข้างต้นและอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หรือหากไม่ได้ให้นมบุตรแต่มีอาการผิดปกติบริเวณเต้านม อย่างมีของเหลวไหลออกจากหัวนม ปวดหน้าอกเป็นระยะเวลานานจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือพบก้อนเนื้อในเต้านม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย เต้านมอักเสบอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงมักพบการเกิดภาวะเต้านมอักเสบได้น้อย แต่อาจมีโอกาสเกิดเต้านมอักเสบมากขึ้นหากเป็นผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัจจัยต่อไปนี้ ในการวินิจฉัยเต้านมอักเสบ แพทย์จะสอบถามอาการผิดปกติและประวัติของผู้ป่วย อย่างประวัติการใช้ยา หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือไม่ รวมถึงการตรวจร่างกายเบื้องต้นก็สามารถให้การวินิจฉัยได้แล้ว แต่หากผู้ป่วยมีอาการไม่แน่ชัด แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่นตามความเหมาะสม เช่น โดยทั่วไป แพทย์มักรักษาผู้ป่วยเต้านมอักเสบด้วยการให้รับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันประมาณ 10 วัน อาทิ ยาเซฟาเลกซิน (Cephalexin) ยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) หรือยาชนิดอื่น ๆ ตามความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคน โดยมักจะทำร่วมกับการระบายน้ำนม นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาชนิดอื่นเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาอาการปวด มีไข้ หรือบวม เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรให้นมต่อไป เนื่องจากการติดเชื้อเกิดที่เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมจะไม่เป็นอันตรายต่อทารก อีกทั้งการให้นมบุตรจะช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้าและทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น แต่หากพบฝีบริเวณเต้านมของผู้ป่วย แพทย์จะผ่าตัดหรือเจาะเพื่อระบายของเหลวออก และแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการให้นมบุตรก่อนชั่วคราว นอกจากนี้ แพทย์จะแนะนำวิธีดูแลตนเองเพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำหลังการรักษา แพทย์จึงอาจต้องนัดตรวจเพิ่มเติมเพื่อติดตามอาการ ผู้ป่วยเต้านมอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาหรือมีสาเหตุมาจากการอุดตันในท่อน้ำนมอาจเสี่ยงต่อการเกิดฝี (Abscess) บริเวณเต้านม ซึ่งแพทย์อาจต้องรักษาด้วยการอัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่งและความรุนแรงของอาการ จากนั้นจะเจาะหรือผ่าตัดเพื่อนำของเหลวออก ภาวะเต้านมอักเสบป้องกันได้ยาก แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการให้นมบุตรที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงอาจปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่นความหมาย เต้านมอักเสบ (Mastitis)
อาการของเต้านมอักเสบ
สาเหตุของเต้านมอักเสบ
การวินิจฉัยเต้านมอักเสบ
การรักษาเต้านมอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบ
การป้องกันเต้านมอักเสบ