Illness name: แท้ง
Description: แท้ง (Miscarriage) เป็นการสูญเสียตัวอ่อนภายในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการแท้งเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก โดย 50-75 เปอร์เซ็นต์แท้งในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะหยุดไปหรือยังไม่ทันที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ ทั้งนี้การแท้งเป็นเรื่องปกติที่หลายคนสามารถเผชิญได้ เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นพ่อแม่นั้นก็อาจยากที่จะทำใจยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น อาการแท้ง สัญญาณของการแท้งบุตรที่พบได้บ่อยคือมีเลือดออกทางช่องคลอด โดยอาจไหลออกมาเพียงเล็กน้อยเป็นหยด ๆ สีน้ำตาลหรือสีแดงสด ซึ่งอาการเลือดออกนี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ อยู่หลายวัน อย่างไรก็ตาม การมีเลือดไหลทางช่องคลอดยังเป็นอาการที่พบได้ทั่วไประหว่างการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก การมีเลือดออกจึงไม่ได้หมายความว่ามีการแท้งเกิดขึ้นเสมอไป ทั้งนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการที่อาจแสดงถึงการแท้งต่อไปนี้เกิดขึ้น สาเหตุการแท้ง การแท้งในช่วงไตรมาสแรก โครโมโซมทารกผิดปกติ เป็นสาเหตุของการแท้งในช่วง 3 เดือนแรกที่พบได้บ่อยที่สุด โดยโครโมโซมนี้เป็นการจัดเรียงตัวกันของดีเอ็นเอ ซึ่งจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่พัฒนาการของเซลล์ในร่างกาย หรือแม้แต่สีตาของทารก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นการมีจำนวนโครโมโซมมากเกินปกติหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทารกไม่สามารถพัฒนาได้อย่างปกติและมีการแท้งเกิดขึ้นได้ในที่สุด ซึ่งการแท้งจากโครโมโซมที่ผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้มีอัตราถึง 2 ใน 3 แต่ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดการแท้งจากสาเหตุนี้ขึ้นอีกครั้ง ส่วนสาเหตุความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด และส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาในโครโมโซมของบิดาหรือมารดาแต่อย่างใด ปัญหาจากรก รกมีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารกเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ดังนั้นปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาของรกจึงสามารถนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา การแท้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา นอกจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น การแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2 ยังอาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของมดลูกหรือระบบสืบพันธุ์ของผู้เป็นแม่ ดังนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเชื่อหลายประการที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการแท้ง ทั้งที่ปัจจัยต่อไปนี้ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ ต่อการแท้ง การวินิจฉัยการแท้ง ผู้ป่วยที่มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดหรืออาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกการแท้งควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยแพทย์อาจใช้การวินิจฉัยต่อไปนี้ การตรวจหาสาเหตุของการแท้งต่อเนื่องยังอาจรวมถึงการตรวจภายในด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อดูโครงสร้างของมดลูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ แพทย์อาจใช้เครื่องอัลตราซาวด์แบบ 3D เพื่อตรวจดูช่องท้องล่วนล่างและบริเวณเชิงกรานได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงการตรวจความแข็งแรงปากมดลูก โดยจะอัลตราซาวด์เมื่อมีการตั้งครรภ์ขึ้นอีกครั้งหลังจากการแท้งครั้งก่อน ในช่วงที่อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 10-12 เดือน การตรวจเลือดวัดระดับของแอนไทฟอสฟอไลปิด (Antiphospholipid Antibody) และสารต้านการเกาะลิ่มเลือด (Lupus Anticoagulant) ก็ถือเป็นการวินิจฉัยสาเหตุอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากแอนไทฟอสฟอไลปิดที่มีมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสของการเกิดลิ่มเลือดและเปลี่ยนการยึดตัวของรก ส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงทารกลดน้อยลง นำไปสู่การแท้งบุตรได้ การตรวจชนิดนี้ควรจะทำทั้งหมด 2 ครั้ง ขณะที่ยังไม่มีการตั้งครรภ์ และแต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 6 เดือน การรักษาการแท้ง หญิงตั้งครรภ์ที่แท้งบุตรและเนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์ถูกขับออกไปหมดแล้วนั้นไม่จำเป็นต้องรับการรักษาอีก แต่สำหรับรายที่ยังมีเนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์อยู่ภายในมดลูก แพทย์จะมีวิธีการรักษาต่อไปนี้ ส่วนการพักฟื้นตัวจากการแท้งมักใช้เวลาภายในเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่เกิน 2 วัน ซึ่งในระหว่างนี้หากผู้ป่วยมีเลือดออกมาก เป็นไข้ หรือรู้สึกปวดผิดปกติควรต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที หลังจากนั้นร่างกายของผู้ป่วยจะสามารถผลิตไข่ออกมาใหม่ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ทำให้กลับมามีประจำเดือนตามปกติได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ และผู้ป่วยจะคุมกำเนิดด้วยวิธีการใด ๆ ได้ทันทีหลังการแท้งบุตร อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสอดสิ่งของใด ๆ เข้าภายในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ หญิงที่แท้งบุตรจะสามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้งทันที แต่คู่สามีภรรยาที่จะพยายามมีบุตรอีกครั้ง ควรมีการเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ หรืออาจพูดคุยปรึกษากับแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์อีกครั้งเสียก่อน ภาวะแทรกซ้อนของการแท้ง หญิงตั้งครรภ์ที่แท้งบุตรจากการติดเชื้ออาจส่งผลเป็นภาวะแทรกซ้อน เช่น หนาวสั่น มีไข้ ฟกช้ำที่ท้องน้อย และร่างกายมีการขับของเสียกลิ่นเหม็นออกทางช่องคลอด นอกจากนี้ ผลกระทบทางจิตใจและความเสียใจจากการสูญเสียลูกในท้องก็เป็นสิ่งที่หลายคนต้องรับมือ จึงอาจส่งผลให้ในช่วงหลังการแท้งมีอาการไม่อยากอาหาร เหนื่อยล้า และนอนหลับยาก นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกผิด รู้สึกเศร้า หรือพาลโกรธคนรอบข้างที่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และมีบุตร ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายย่อมแสดงอาการเศร้าโศกเสียใจแตกต่างกันไป บางรายต้องการให้คอยรับฟัง แต่บางรายกลับอาจไม่อยากพูดถึงเพราะรู้สึกเจ็บปวด หรือบางรายอาจรู้สึกว่าการวางแผนมีบุตรอีกครั้งเป็นเรื่องน่ากลัวและสะเทือนใจ บุคคลใกล้ชิดจึงควรคอยรับฟังและพยายามทำความเข้าใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น การป้องกันการแท้ง ส่วนมากการแท้งจะไม่สามารถระบุถึงสาเหตุได้ ทำให้ไม่มีการป้องกันการแท้งที่ให้ผลแน่นอนได้ หญิงตั้งครรภ์จึงทำได้เพียงรักษาสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ให้แข็งแรง ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้ความหมาย แท้ง
อย่างไรก็ตาม การแท้งมักมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หญิงที่เคยแท้งบุตรมาแล้วจึงยังสามารถตั้งครรภ์และคลอดได้สำเร็จในครั้งต่อไป และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่แท้งบุตรติดต่อกัน 2 ครั้ง ส่วนการแท้งอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้งขึ้นไปนั้นมีอัตราการเกิดเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนในกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของการแท้งอย่างต่อเนื่องก็อย่าเพิ่งหมดหวังในการมีบุตร เพราะประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของหญิงที่เผชิญปัญหานี้สามารถตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้ในที่สุด