Illness name: diverticulitis โรคถุงผนังลำไส้อักเส
Description: Diverticulitis หรือ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ คือการอักเสบของกระเปาะบริเวณเยื่อบุลำไส้ใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงควบคุมอาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย บางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ อาการของโรค Diverticulitis อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน สังเกตได้ดังนี้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติรุนแรง ดังนี้ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของ Diverticulitis ได้อย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ผนังลำไส้อ่อนแอกว่าปกติ เมื่อเกิดแรงดันภายในลำไส้ใหญ่มาก ๆ จึงส่งผลให้เกิดกระเปาะที่ผนังลำไส้ขึ้น และหากผู้ป่วยมีปัญหาด้านการขับถ่ายจนทำให้มีอุจจาระตกค้างในลำไส้ เชื้อโรคก็อาจเข้าไปสะสมภายในกระเปาะจนเกิดการอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เสี่ยงเกิดการอักเสบที่ถุงผนังลำไส้มากขึ้นได้ มีดังนี้ ผู้ป่วย Diverticulitis มักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง การตรวจวินิจฉัยจะเริ่มจากการซักประวัติสุขภาพและสอบถามถึงอาการที่เกิดขึ้น ร่วมกับตรวจร่างกายภายนอก แพทย์จะตรวจดูว่ามีอาการกดเจ็บบริเวณท้องหรือไม่ ส่วนผู้ป่วยหญิงอาจได้รับการตรวจภายในเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ทั้งนี้ โรค Diverticulitis อาจมีอาการคล้ายกับโรคลำไส้แปรปรวน โรคแพ้กลูเตน หรือโรคมะเร็งลำไส้ จึงต้องมีการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น แนวทางในการรักษา Diverticulitis ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย หากมีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ โดยแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น หมั่นรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างผักผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และป้องกันการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นอีก แต่ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจให้รับประทานอาหารเหลวจนกว่าอาการจะดีขึ้นแล้วค่อยเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และหากมีอาการปวดท้อง ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการดังกล่าวด้วยวิธีดังต่อไปนี้ นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยบางรายเพื่อช่วยรักษาการติดเชื้อ ทว่าหากมีอาการรุนแรงหรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฎิชีวนะชนิดฉีดเข้าทางเส้นเลือด ส่วนในกรณีที่การติดเชื้อส่งผลให้เกิดฝีภายในร่างกายอาจต้องมีการใส่ท่อเพื่อระบายหนองออก ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มีฝีหรือทางเชื่อมที่ผิดปกติของอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย มีภาวะลำไส้อุดตัน เกิดการอักเสบของถุงผนังลำไส้ซ้ำซ้อน หรือในกรณีที่การรักษาวิธีอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรผ่าตัดด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสมที่สุด และหลังจากได้รับการรักษาและพักฟื้นจนมีอาการดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคด้วยวิธีดังต่อไปนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที โรค Diverticulitis อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยอาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวดท้องอย่างรุนแรง ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ตามปกติ ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของ Diverticulitis ที่เกิดขึ้นได้ มีดังนี้ โรค Diverticulitis ไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลตัวเองให้มากขึ้น ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันและเนื้อแดง ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยให้ไฟเบอร์ที่รับประทานเข้าไปทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและลดแรงดันภายในลำไส้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด Diverticulitis น้อยลง ความหมาย โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis)
อาการของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
สาเหตุของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
การวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
การรักษาโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
การป้องกันโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ