Illness name: pulmonary embolism โรคลิ่มเลือดอุดกั้นใ
Description: Pulmonary Embolism หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เกิดจากลิ่มเลือดหลุดไปอุดกั้นหลอดเลือดปอด ทำให้ผู้ป่วยมักหายใจหอบเหนื่อย ไอ และเจ็บหน้าอก โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ เช่น อายุ พันธุกรรม โรคประจำตัว รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของลิ่มเลือดที่ไปอุดกั้นในปอด ซึ่งอาการที่พบทั่วไป ได้แก่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ วิงเวียนศีรษะ มีเหงื่อออกมาก กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ชีพจรเต้นอ่อน ผิวมีสีเขียวคล้ำ ปวดขาหรือขาบวม โดยเฉพาะบริเวณน่อง และอาจหน้ามืดเป็นลมหรือหมดสติ โรค Pulmonary Embolism อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการหายใจเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก ไอมีเลือดปนออกมาด้วย หรือสงสัยในอาการป่วยของตนเอง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาได้ทันท่วงที อาจทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 2-8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โรค Pulmonary Embolism มักมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดขาหลุดไปอุดกั้นหลอดเลือดปอด และบางครั้งอาจเกิดจากการอุดตันของไขมัน คอลลาเจน เนื้อเยื่อ เนื้องอก หรือฟองอากาศในหลอดเลือดปอดได้เช่นกัน โดยปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ได้แก่ แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น หายใจหอบเหนื่อย มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็ว มีหลอดเลือดโป่งที่คอ พบลิ่มเลือดอุดตันที่ขา มีเส้นเลือดขอด หรือเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น มีอายุมากกว่า 60 ปี มีประวัติการเกิดลิ่มเลือดมาก่อน Pulmonary Embolism เป็นโรคที่วินิจฉัยยาก เนื่องจากอาการของผู้ป่วยจะแตกต่างกันออกไปซึ่งอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้น แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม ดังนี้ การรักษาโรคนี้ในเบื้องต้น ได้แก่ การฟื้นฟูกู้ชีวิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการช็อกหรือหัวใจวาย และการรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดใหม่และไม่ให้ลิ่มเลือดเก่ามีขนาดใหญ่ขึ้น หากรักษาได้ทันท่วงทีจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาโรค Pulmonary Embolism มีวิธีการดังต่อไปนี้ เมื่อเกิดโรค Pulmonary Embolism หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลักดันให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดที่มีลิ่มเลือดอุดกั้นอยู่ จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ความดันเลือดในปอดหรือหัวใจห้องซ้ายสูง ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจอ่อนกำลังลงได้ และเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะความดันในปอดสูงเรื้อรัง ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันการณ์ การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ขา รวมถึงการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาจช่วยป้องกันการเกิดโรค Pulmonary Embolism ได้ ซึ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
สาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
การวินิจฉัยโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด