Illness name: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Description: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) คือภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณลำคอเกิดการคลายตัวเป็นช่วง ๆ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรือถูกปิดกั้นในขณะนอนหลับ ผู้ป่วยจะกรนเสียงดังและหายใจลำบากในขณะนอนหลับ เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมในระหว่างวัน พบได้มากในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ที่นอนอยู่ข้าง ๆ มักจะเป็นผู้ที่สังเกตอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่น กรนเสียงดัง หายใจลำบาก ติดขัด หรือหายใจเสียงดังออกทางจมูก หรือสามารถพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน และการนอนกรนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ ได้ ควรไปปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีการกรนเสียงดังรบกวนการนอนของตัวเองหรือผู้ที่นอนอยู่ข้าง ๆ ตื่นกลางดึกจากการหายใจไม่ออกหรือสำลัก หยุดหายใจเป็นระยะในขณะนอนหลับ หรือรู้สึกง่วงมากขณะทำกิจกรรมระหว่างวัน สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เมื่อกล้ามเนื้อที่บริเวณหลังลำคอ รวมถึงเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ทอนซิล และลิ้น คลายตัวมากเกินไปจะทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรือถูกปิดกั้นในขณะหายใจเป็นเวลาประมาณ 10-20 วินาที สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ตั้งแต่ 5-30 ครั้งหรือมากกว่านั้นในทุก ๆ 1 ชั่วโมง นานตลอดทั้งคืน จะส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง ตื่นกลางดึกจากการหายใจไม่ออกหรือสำลัก นอนหลับไม่สนิท และทำให้รู้สึกง่วงในระหว่างวัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์จะวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากอาการของผู้ป่วย ตรวจร่างกายหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่บริเวณลำคอ ปาก และจมูก วัดความหนาของลำคอ รอบเอว และความดันโลหิต รวมถึงทำการทดสอบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสุขภาพการนอนหลับ อาจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนอนหลับโดยผู้เชี่ยวชาญ จะมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจจับและบันทึกสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ รูปแบบและอัตราการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด ระยะของการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของดวงตา การเคลื่อนไหวของขาขณะนอนหลับ เป็นต้น หรือในบางกรณีแพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจสุขภาพการนอนหลับเองที่บ้าน ความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถวัดจากจำนวนครั้งของการหยุดหายใจใน 1 ชั่วโมง หรือเรียกว่าดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว (Apnea-Hypopnoea Index: AHI) โดยแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้ การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่ไม่รุนแรงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน ออกกำลังกายเป็นประจำ เลิกสุบบุหรี่ เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการที่สำคัญของภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือการนอนกรน ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญให้บุคคลที่นอนข้าง ๆ แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้ การป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การป้องกันสามารถทำได้โดยการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ