Illness name: กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก tss
Description: TSS (Toxic Shock Syndrome) หรือ กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยากแต่อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่สามารถปล่อยสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ การได้รับสารพิษนั้นอาจทำให้มีไข้สูงอย่างฉับพลัน และความดันเลือดต่ำซึ่งอาจเป็นเหตุให้อวัยวะสำคัญ อย่างปอด ตับ หรือหัวใจ ล้มเหลวได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในผ้าอนามัยโดยเฉพาะแบบสอด อย่างไรก็ตาม TSS สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบกว่าครึ่งเป็นผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน โดยส่วนใหญ่อาการที่เกิดจาก TSS มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ไข้สูงอย่างฉับพลัน หนาวสั่น ความดันโลหิตต่ำ รอยแดงบริเวณดวงตา ปาก ลำคอ ฝ่ามือฝ่าเท้าลอกและมีผื่นคล้ายอาการไหม้แดด ถ่ายเหลว อาเจียน ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ สับสน ไม่มีสมาธิ เป็นลมหมดสติ และอาจมีอาการชัก เป็นต้น TSS มักมีสาเหตุการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ชื่อ สแตฟิโลค็อกคัสออเรียส และ สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ซึ่งโดยปกติแล้ว แบคทีเรียเหล่านี้จะอาศัยอยู่ตามผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดแผลหรือรอยถลอก เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ก็อาจเข้าสู่กระแสเลือด โดยแบคทีเรียบางสายพันธุ์จะเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งสร้างสารพิษภายในร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยปัจจัยที่มักทำให้เกิด TSS มีดังนี้ เนื่องจาก Toxic Shock Syndrome จะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน การตรวจวินิจฉัยจึงอาจมีหลายวิธี ดังนี้ นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้วิธีในการตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยในรูปแบบอื่น ๆ อีก เช่น การเจาะน้ำไขสันหลัง การเอกซเรย์ทรวงอก และการทำซีทีสแกนเพื่อแสดงภาพของอวัยวะในร่างกายที่อาจได้รับความเสียหายจากการติดเชื้อ เป็นต้น กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกนั้นควรได้รับการรักษาโดยเร็วเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ในเบื้องต้นแพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยเพื่อควบคุมการติดเชื้อไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่น หากใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรืออุปกรณ์คุมกำเนิดในช่องคลอด แพทย์จะทำการถอดอุปกรณ์เหล่าดังกล่าวออก และหากมีสาเหตุมาจากบาดแผล แพทย์จะทำความสะอาดแผลด้วยการผ่าตัดกำจัดหนองเพื่อลดการติดเชื้อ ในกรณีที่มีเนื้อตายแพทย์จะผ่าตัดนำเนื้อส่วนนั้นออกด้วย ในรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้สารภูมิต้านทานผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous Immune Globulins) นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้วิธีการรักษารูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การให้ของเหลวผ่านหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ การให้ยารักษาระดับความดันเลือด และในกรณีที่เกิดภาวะไตวายผู้ป่วยต้องทำการฟอกไตเพื่อขจัดของเสียภายในร่างกาย เป็นต้น การติดเชื้อจากแบคทีเรียนั้นสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่รักษาหรือเข้ารับการรักษาช้าอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง เช่น อาการช็อก หรือภาวะที่เลือดในร่างกายไหลเวียนน้อยลงจนทำให้อวัยวะต่าง ๆ ขาดออกซิเจนและสารอาหารที่มีเลือดเป็นตัวลำเลียงก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ตับวาย และหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการท็อกซิกช็อกนั้นสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ดังนี้ความหมาย กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (TSS)
อาการของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
สาเหตุของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
การวินิจฉัยกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
การรักษากลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
ภาวะแทรกซ้อนกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
การป้องกันกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก