Illness name: มะเร็งกระดูก
Description: มะเร็งกระดูก (Bone Cancer) คือ เซลล์มะเร็งที่เริ่มก่อตัวบริเวณกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกว่า โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ และเซลล์มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายไปยังกระดูกซึ่งเรียกว่าโรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ โดยชนิดปฐมภูมินั้นพบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดขึ้นในกระดูกที่มีลักษณะเป็นแนวยาว เช่น กระดูกแขนหรือกระดูกขา โดยมีอาการเจ็บหรือบวมแดงที่บริเวณนั้น ๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกโรค อาการมะเร็งกระดูก มะเร็งกระดูกอาจเกิดขึ้นที่กระดูกบริเวณใดก็ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดกับกระดูกแนวยาวอย่างแขนส่วนบนหรือขา อาการของโรคที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาการเจ็บกระดูก ซึ่งมักเริ่มจากอาการคล้ายฟกช้ำบริเวณกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็ง หลังจากนั้นจะเริ่มเจ็บอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือเจ็บเป็นพัก ๆ มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืนหรือขณะนั่งพัก ทั้งนี้อาการเจ็บปวดดังกล่าวอาจทำให้สับสนกับโรคข้ออักเสบในผู้ใหญ่ และอาการปวดจากการเจริญเติบโตของร่างกายในส่วนกระดูกและข้อของเด็กได้ นอกจากอาการเจ็บแล้วยังอาจพบอาการบวมแดงจากการอักเสบ หรือสังเกตได้ถึงก้อนบวมรอบบริเวณดังกล่าว ซึ่งหากเป็นกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อต่อ อาการบวมที่เกิดขึ้นอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ยาก ในผู้ป่วยบางราย มะเร็งอาจส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลงจนแตกหักได้ง่ายเพียงหกล้มหรือได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย อาการอื่นของโรคมะเร็งกระดูกที่พบรองลงมาได้แก่ อาการไข้สูง มีเหงื่อออก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน และน้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น เมื่อรู้สึกเจ็บที่กระดูกเป็นเวลานาน มีอาการรุนแรง หรือแย่ลง หรือหากวิตกกังวลกับอาการใด ๆ ข้างต้นที่กล่าวมา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความแน่ใจ แม้โอกาสเกิดมะเร็งกระดูกจะมีน้อยก็ตาม สาเหตุของมะเร็งกระดูก สาเหตุของเซลล์มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นบริเวณกระดูกหรือมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมินั้นยังไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบันทางการแพทย์พบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิมีดังนี้ มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิซึ่งเป็นชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่ได้เริ่มก่อตัวที่บริเวณกระดูกแต่เกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมายังกระดูก เช่น มะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงอาจทำให้เซลล์มะเร็งกระจายมาที่กระดูกได้ นอกจากนี้ โรคมะเร็งกระดูกแบ่งออกเป็นประเภทย่อยตามชนิดของเซลล์ที่พัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง และแต่ละชนิดยังพบได้ในแต่ละเพศแต่ละวัยแตกต่างกันไป ดังนี้ การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูก ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์จากสาเหตุปวดกระดูก เบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการและตรวจบริเวณที่มีอาการ โดยดูว่าบวมหรือมีก้อนหรือไม่ รวมทั้งถามถึงความคล่องตัวของการเคลื่อนไหวบริเวณดังกล่าว ลักษณะอาการเจ็บปวดที่รู้สึกอยู่ว่าเจ็บเป็นช่วง ๆ หรือมีอาการแย่ลงหรือไม่ จากนั้นแพทย์จึงจะพิจารณาวิธีที่จะใช้ในการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้ กรณีที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีข้างต้นแล้วพบมะเร็งกระดูก ขั้นต่อไปแพทย์มักจะประเมินระยะลุกลามของมะเร็งด้วยการใช้วิธีการตรวจต่อไปนี้ หลังจากการตรวจร่างกายและตรวจเพิ่มเติ่มข้างต้นแล้ว แพทย์จึงจะประมวลผลได้ว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหรือไม่และกระจายไปที่ใด ซึ่งจะบ่งบอกถึงระยะของมะเร็งกระดูกในครั้งนี้ได้ด้วย โดยมะเร็งกระดูกแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ การรักษามะเร็งกระดูก โอกาสของการรักษามะเร็งกระดูกให้หายขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็งกระดูก ถ้าเป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายแล้วนั้นค่อนข้างยากต่อการรักษา จึงอาจเป็นการรักษาเพื่อประคองอาการและชะลอการลุกลามของมะเร็งเท่านั้น ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษามะเร็งดูกโดยคำนึงถึงชนิดของโรคมะเร็งกระดูก ระยะการลุกลามของมะเร็ง ความพร้อมทางด้านสุขภาพโดยรวม และความพอใจของตัวผู้ป่วยเอง อาจเลือกใช้การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด หรือการใช้รังสีบำบัดวิธีใดวิธีหนึ่ง หรืออาจใช้ควบคู่กันไปหลายวิธีก็ได้ การผ่าตัด เป็นการผ่าเพื่อนำมะเร็งกระดูกออกมาทั้งหมด การผ่าตัดมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ การทำเคมีบำบัด การรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งแก่ผู้ป่วย โดยจะให้ผ่านทางเส้นเลือดและยานี้จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย การทำเคมีบำบัดนี้ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่มะเร็งลุกลามจากกระดูกไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การทำเคมีบำบัดอาจส่งผลให้เซลล์ปกติถูกทำลายไปด้วย และเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา เช่น ผมร่วง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงการเกิดภาวะมีบุตรยาก และมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นหมันอย่างถาวร ซึ่งทีมแพทย์จะมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของภาวะนี้ การใช้รังสีบำบัด ด้วยการใช้คลื่นแสงพลังงานสูงอย่างเช่นรังสีเอกซเรย์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ขณะที่ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะ เครื่องจะหมุนไปโดยรอบและส่งรังสีไปยังเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักใช้ร่วมกันกับการทำเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉายรังสีก่อนแล้วจึงตามด้วยการทำเคมีบำบัด นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้การฉายรังสีลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด ช่วยให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องตัดแขนและขาของผู้ป่วย รวมถึงการใช้รังสีฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลือหลังจากผ่าตัด ส่วนในรายที่อาการรุนแรงแพทย์จะช่วยหาวิธีประคองอาการและบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็งที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับการทำเคมีบำบัด การฉายรังสีอาจทำให้เซลล์ปกติโดยรอบถูกทำลายไปด้วย และก่อให้มีอาการข้างเคียง เช่น เจ็บข้อต่อบริเวณที่มีการรักษามะเร็ง ผิวหนังได้รับความระคายเคืองหรือเป็นผื่นแดง รู้สึกป่วย เหนื่อย ผมหรือขนบริเวณที่ฉายรังสีร่วง การรักษาอาการปวดกระดูก อาการเจ็บปวดที่เป็นอาการหลักของโรคมะเร็งกระดูกรักษาด้วยยาบรรเทาปวดทั้งหลาย มีทั้งที่สั่งจ่ายโดยแพทย์และสามารถหาซื้อได้เอง โดยยาที่ใช้ระงับอาการเจ็บเล็กน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพร็อกเซน และยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ทั้งนี้ผู้ที่กำลังทำเคมีบำบัดอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้ ด้านยารักษาอาการเจ็บปวดระดับปานกลางไปจนถึงเจ็บปวดรุนแรง แพทย์จะสั่งจ่ายยากลุ่มโอปิออยด์ ยาแก้ปวดชนิดเสพติดที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคเดอีน (Codeine) และเฟนทานิล (Fentanyl) โดยบางครั้งอาจใช้หลายตัวยาควบคู่กัน อย่างไรก็ตามยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์นี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการง่วงซึม และไปกดระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ทำให้คลื่นไส้ และท้องผูกได้ ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งกระดูก โรคมะเร็งกระดูกสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนี้ การป้องกันมะเร็งกระดูก เนื่องจากในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งกระดูก จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ยืนยันได้ว่าจะสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ผลความหมาย มะเร็งกระดูก