Illness name: แพ้ยา
Description: แพ้ยา (Drug Allergy) คือปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป คล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และหากปฏิกิริยานี้มีมากเกินไปก็อาจตามมาด้วยอาการแพ้ยาอ่อน ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง หรือเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากคิดว่ามีอาการแพ้ยาใด ๆ จึงต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีและควรหยุดรับประทานยานั้น อาการของการแพ้ยา อาการของการแพ้ยามีลักษณะคล้ายคลึงกันกับอาการแพ้อาหารหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแต่ละคนก็มีปฏิกิริยาแพ้ต่อสารต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมหรือยีนที่เป็นตัวกำหนดว่าจะแพ้อะไร และแพ้ในระดับรุนแรงหรือไม่รุนแรง การแพ้ยาแตกต่างกับอาการข้างเคียงโดยทั่วไปจากยาซึ่งสามารถคาดการณ์ได้จากกลไกการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาแก้ปวดมีผลข้างเคียงทำให้ปวดแสบท้อง ยาลดน้ำมูกมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เป็นต้น ในขณะที่การแพ้ยานั้นไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใดจะแพ้ยาตัวไหน และสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ในระหว่างที่รับประทานยานั้น ๆ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากยาเข้าสู่ร่างกาย หรือภายหลังรับประทานยาไปสักพัก และบางรายที่ไม่แพ้ยาตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ก็อาจเกิดอาการแพ้ขึ้นเมื่อรับประทานยาอีกครั้งในอนาคต การแพ้ยาที่ไม่รุนแรงโดยทั่วไปอาจปรากฏในลักษณะอาการต่อไปนี้ ส่วนการแพ้ยาอย่างรุนแรงพบได้ไม่บ่อย แต่ถือว่าร้ายแรงที่สุด เพราะสามารถส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติและมีอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ปฏิกิริยาแพ้ยารุนแรงมักจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการรับประทานยา โดยมีอาการบ่งบอกดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีการแพ้ยาอีกลักษณะที่พบได้ไม่บ่อย สามารถเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายวันถึงหลายสัปดาห์หลังจากการรับประทานยา โดยอาการจะคงอยู่สักพักแม้หยุดรับประทานยาแล้วก็ตาม และทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน สังเกตได้จากภาวะหรืออาการบ่งชี้ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้หลังรับประทานยาใด ๆ หากสงสัยว่าตนเองมีอาการแพ้ ไม่ว่าอาการจะรุนแรงหรือไม่ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งให้ทราบถึงอาการที่เกิดขึ้นทันที สาเหตุของการแพ้ยา อาการแพ้ยาเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจผิดว่ายารักษาโรคชนิดนั้น ๆ เป็นสารอันตราย จึงมีปฏิกิริยาต่อต้านยาขึ้น ส่วนมากจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันไวต่อยา ทำให้เมื่อยาเข้าไปในร่างกายเป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงตรวจจับว่าสารดังกล่าวเป็นอันตรายและสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อสารนั้นขึ้น ดังนั้นครั้งต่อไปที่ใช้ยา ระบบภูมิคุ้มกันที่จดจำไว้แล้วว่าสารชนิดนั้นเป็นอันตรายจึงโจมตีสารแปลกปลอมนี้ด้วยการปล่อยสารฮีสทามีนจำนวนมากออกมา ส่งผลให้มีอาการแพ้เนื่องมาจากปฏิกิริยาดังกล่าว ทั้งนี้ยาบางชนิดก็มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้มากกว่าชนิดอื่น โดยยาใช้ในประเทศไทยที่มักทำให้เกิดการแพ้ทางผิวหนังอย่างรุนแรง ได้แก่ บางครั้งปฏิกิริยาต่อยาบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการคล้ายการแพ้ยาขึ้นได้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการแพ้ยาหรือการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อาการนี้เรียกว่าการแพ้ยาเทียม โดยยาที่มักทำให้เกิดปฏิกิริยาที่คล้ายคลึงนี้ ได้แก่ การวินิจฉัยอาการแพ้ยา เบื้องต้น แพทย์จะตรวจร่างกาย ซักประวัติ และสอบถามอาการเพื่อหาลักษณะอาการที่อาจเกิดจากการแพ้ยา รวมถึงประเมินความรุนแรงของการแพ้ยา ผู้ป่วยอาจต้องตอบคำถามถึงเวลาที่เริ่มมีอาการ เวลาที่เริ่มรับประทานยา และอาการที่มีนั้นดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร หากมีความเป็นไปได้ว่าอาการของผู้ป่วยคือการแพ้ยา แพทย์จึงอาจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ทำการทดสอบเพื่อหาสิ่งที่แพ้ ดังนี้ การทดสอบผิวหนัง เป็นการทดสอบด้วยการใช้ยาที่คาดว่าผู้ป่วยจะมีการแพ้ในปริมาณเล็กน้อยแหย่เข้าไปภายใต้ผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ ผิวหนังจะแดง คัน และเป็นตุ่มขึ้นมา โดยมากอาการแพ้ที่ปรากฏขึ้นระหว่างการทดสอบจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยแพ้ยานั้น ๆ แต่ผลการทดสอบที่ไม่ปรากฏการแพ้อาจยากที่จะวินิจฉัยว่าไม่มีการแพ้ยาเกิดขึ้นจริง ๆ หรือแพ้แต่ไม่แสดงผ่านผลการทดสอบ การตรวจเลือด เป็นวิธีวินิจฉัยเพื่อให้แน่ใจว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุได้ อย่างไรก็ตาม มียาชนิดที่สามารถใช้การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาอาการแพ้ได้ แต่มีน้อยมาก และยังไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากความแม่นยำของผลการทดสอบที่ยังยืนยันไม่ได้แน่ชัด แพทย์อาจเลือกใช้ในกรณีจำเป็นที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้รุนแรงต่อการทดสอบทางผิวหนัง หลังจากการวิเคราะห์อาการและการทดสอบอาการแพ้ยา ผลการทดสอบอาจสามารถสรุปได้ว่ามีอาการแพ้ยา ไม่มีอาการแพ้ยา หรือมีความเป็นไปได้ที่จะแพ้ยาในระดับมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกใช้การรักษาในอนาคตต่อไป การรักษาการแพ้ยา หากยืนยันได้แน่ชัดแล้วว่ามีอาการแพ้ยาหรือมีความเป็นไปได้ที่อาการแพ้จะเกิดจากการใช้ยาดังกล่าว อันดับแรกแพทย์จะให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาชนิดนั้น และจะหลีกเลี่ยงการจ่ายยาที่แพ้หากไม่มีความจำเป็น ส่วนอาการแพ้ที่เกิดขึ้นสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือวิธีต่อไปนี้ การใช้ยารักษาอาการแพ้ การรักษาด้วยยาที่แพ้ ในบางกรณีที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นอาการแพ้ยา หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แพทย์อาจรักษาโดยให้ผู้ป่วยใช้ยาชนิดนั้น ขณะเดียวกันก็เฝ้าดูอาการอย่างระมัดระวังเพื่อสังเกตว่ามีอาการแพ้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้วิธีนี้หากในอดีตผู้ป่วยเคยมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงหรือถึงขั้นอันตรายต่อชีวิต ภาวะแทรกซ้อนของการแพ้ยา ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดของการแพ้ยา โดยอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา เช่น หายใจลำบาก ชัก ชีพจรเต้นเร็วหรืออ่อนลง และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การป้องกันการแพ้ยา ผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวว่าแพ้ยานั้นไม่สามารถป้องกันอาการแพ้ได้ ส่วนผู้ที่ทราบถึงการแพ้ยาของตนเอง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดที่ตนแพ้ โดยมีข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพ้หรืออันตรายจากการแพ้ยาที่สามารถทำได้ ดังนี้ พกยาเอพิเนฟรินฉุกเฉิน ในกรณีที่เคยมีอาการแพ้ยารุนแรง ผู้ป่วยจะต้องพกยาชนิดนี้ซึ่งเป็นยารักษาอาการแพ้แบบฉีดพร้อมทั้งเข็มฉีดยาด้วยตนเองติดตัวไว้เผื่อภาวะฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์จะสอนวิธีการฉีดยาด้วยตนเองให้แก่ผู้ป่วยความหมาย แพ้ยา