Illness name: ventricular fibrillation
Description: Ventricular Fibrillation (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) คือ ภาวะความผิดปกติของหัวใจส่งผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป โดยหัวใจจะมีอัตราการเต้นค่อนข้างเร็วและไม่เป็นจังหวะ ซึ่งภาวะนี้ถือว่าอันตรายและต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน เนื่องจากหากหัวใจเต้นเร็วมากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ อาการ Ventricular Fibrillation อาการเกิดจากการที่หัวใจ 2 ห้องล่างไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เป็นปกติ ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนทำให้เป็นลม หรือหมดสติได้ แต่ก่อนหน้าที่อาการเหล่านี้จะปรากฏ ผู้ป่วยมักมีอาการบางแสดงนำมาก่อน อันเป็นสัญญาณของ Ventricular Fibrillation เช่น
สาเหตุของ Ventricular Fibrillation Ventricular Fibrillation เกิดจากการกระตุกหรือการสั่นของใยกล้ามเนื้อหัวใจในหัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการสั่นไหวหรือกระตุกซึ่งพบได้บ่อยคือ
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวนั้นเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน ดังนั้น การวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนเช่นกัน โดยเบื้องต้นผู้ป่วยไม่สามารถระบุอาการได้เอง แต่จะตรวจพบได้ด้วยการวินิจฉัยเบื้องต้นดังวิธีต่อไปนี้
การรักษาในเบื้องต้นมักเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด เพราะส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ หากล่าช้าจะยิ่งทำให้อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้รับผลกระทบไปด้วย โดยวิธีที่แพทย์ใช้ในกรณีนี้ ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนของ Ventricular Fibrillation ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง อาจทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะโคม่า หรือเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวได้ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในผู้ป่วย Ventricular Fibrillation ซึ่งได้แก่
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวสามารถป้องกันได้เบื้องต้น ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
ความหมาย Ventricular Fibrillation
ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการข้างต้นควรรีบโทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหากล่าช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวอาจไม่เคยมีอาการของโรคหัวใจมาก่อน แต่อาจเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ อันได้แก่
การวินิจฉัย Ventricular Fibrillation
ทั้งนี้ หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการของ Ventricular Fibrillation แพทย์จะสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้น โดยวิธีที่ใช้ได้แก่
การรักษา Ventricular Fibrillation
นอกจากนี้ เมื่อผู้ป่วยฟื้นตัวได้แล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อป้องกันอาการกำเริบ หรืออาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและความพร้อมของผู้ป่วยในการรักษา ซึ่งแพทย์จะต้องประเมินสุขภาพผู้ป่วยหลังจากการรักษาอย่างฉุกเฉินอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงแนะนำวิธีการรักษาในขั้นต่อไปได้
การป้องกัน Ventricular Fibrillation
นอกจากนี้ หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ หรือมีปัญหาหัวใจอยู่แล้ว ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้แพทย์สามารถรับมือได้กับภาวะสุขภาพได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดความผิดปกติขึ้น