Illness name: stevens johnson syndrome
Description: Stevens-Johnson Syndrome (กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน) คือความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวชนิดรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด ในระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยผื่นแดงที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและกลายเป็นแผลพุพองในที่สุด ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้และหนาวสั่น ร่วมกับมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตามร่างกาย แสบตา หรือรู้สึกอ่อนเพลีย จากนั้นภายใน 2-3 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ความผิดปกติทางผิวหนังจึงเริ่มปรากฏ สังเกตได้ดังนี้ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของ Stevens Johnson Syndrome อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าการติดเชื้อและการใช้ยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้ การใช้ยา ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังจากใช้ยาหรือหลังหยุดใช้ยาไปแล้วนาน 2 สัปดาห์ ประเภทยาที่อาจก่อให้เกิด Stevens Johnson Syndrome ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ ปอดบวม เริม งูสวัด หรือเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome มากกว่าคนทั่วไปถึง 100 เท่า นอกจากสาเหตุข้างต้น ยังมีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome ได้แก่ การวินิจฉัย Stevens Johnson Syndrome จะทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเริ่มจากตรวจดูอาการ ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามประวัติทางการแพทย์ รวมถึงประวัติการใช้ยา จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เป็นต้น Stevens Johnson Syndrome เป็นความผิดปกติทางผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวที่รุนแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน หากผลวินิจฉัยพบว่าอาการป่วยเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อยา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุและกลุ่มยาใกล้เคียงทันที หรืออาจให้หยุดใช้ยาทุกชนิดที่ไม่จำเป็นต่อผู้ป่วยมากนัก หลังจากนั้นจะรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการ โดยอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้ หลังจากรับการรักษาดังข้างต้น ร่างกายของผู้ป่วยจะค่อย ๆ สร้างผิวหนังใหม่ทดแทนผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ ทั้งนี้ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ บางรายอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน นอกจาก Stevens Johnson Syndrome จะทำให้ผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวตามร่างกายเกิดความผิดปกติ ยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ดังนี้ Stevens Johnson Syndrome ป้องกันได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากแต่ละคนตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจพบยีน HLA-B 1502 แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหายีนดังกล่าวก่อนรับประทานยาบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เช่น ยาคาร์บามาซีปีน ยาอัลโลพูรินอล ส่วนผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนควรงดรับประทานยาที่กระตุ้นให้เกิดอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาชนิดอื่น รวมทั้งสวมกำไลข้อมือสำหรับผู้แพ้ยาเสมอ ทั้งนี้ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิด Stevens Johnson Syndrome คนในครอบครัวของผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นต้นเหตุของอาการผิดปกติเช่นกันความหมาย กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome)
อาการของกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
สาเหตุของกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การวินิจฉัยกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การรักษากลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
ภาวะแทรกซ้อนจากกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การป้องกันกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน