Illness name: carpal tunnel syndrome
Description: Carpal Tunnel Syndrome: CTS คือ กลุ่มอาการประสาทมือชา เป็นภาวะที่เส้นประสาทมีเดียนซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักของมือถูกบีบอัดหรือกดทับภายในข้อมือ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างมือ หรือการใช้งานมืออย่างไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ชา และเป็นเหน็บบริเวณมือกับแขน ส่วนใหญ่อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักต้องรักษาด้วยการใส่เฝือก การใช้ยา หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภทที่ทำให้เส้นประสาทมือเสียหาย และอาจต้องรับการผ่าตัดหากมีอาการรุนแรง อาการของ Carpal Tunnel Syndrome มักเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจแสดงอาการเพียงชั่วคราวในช่วงแรก และกำเริบบ่อยขึ้นหรือมีอาการนานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการตอนกลางคืนหรือหลังตื่นนอน ซึ่งมักรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ขยับหรือสะบัดมือ และมีอาการชัดเจนมากขึ้นหลังจากทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวข้อมือหรือใช้ข้อมือหยิบจับและถือสิ่งของเป็นเวลานาน เช่น ทำงานบ้าน ซักผ้า บิดผ้า หั่นเนื้อสัตว์ ตำน้ำพริก ใช้โทรศัพท์ อ่านหนังสือ จับพวงมาลัยขณะขับรถ ขี่รถจักรยานยนต์ เป็นต้น รวมทั้งอาจมีอาการต่าง ๆ ขณะนอนหลับได้ด้วย เพราะข้อมือบิด เกร็ง หรืออาจนอนทับข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกบีบอัดหรือกดทับบริเวณข้อมือ ซึ่งอาจมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ ดังนี้ นอกจากนี้ แม้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัด แต่การทำงานโดยใช้เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีการสั่นเป็นเวลานาน การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการงอข้อมือซ้ำ ๆ ก็อาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ หรือทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ แพทย์มักวินิจฉัย Carpal Tunnel Syndrome จากการซักประวัติผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย และอาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้ การตรวจมือ การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้า การตรวจด้วยรังสีวิทยา เมื่อเริ่มรู้สึกชา ปวด หรือไม่สามารถใช้งานมือและข้อมือได้ตามปกติ ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทันที เพื่อไม่ให้เส้นประสาทมีเดียนเสียหายมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการรักษา Carpal Tunnel Syndrome ดังนี้ การรักษาเบื้องต้น การรักษาด้วยการผ่าตัด หลังการผ่าตัด ช่วงแรกผู้ป่วยควรยกมือขึ้นให้อยู่เหนือระดับหัวใจ และขยับมือเพื่อลดอาการบวมและตึง ใส่เฝือกหรืออุปกรณ์พยุงข้อมือ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น หลีกเลี่ยงการขับรถ ไม่หยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เป็นต้น เพื่อช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นจนกว่าจะหายเป็นปกติ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานกว่า 6-12 เดือนในการฟื้นตัวและหายเป็นปกติ ซึ่งระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาและอ่อนแรงเล็กน้อยบริเวณมือและข้อมือ ผู้ป่วยมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนจาก Carpal Tunnel Syndrome แต่กล้ามเนื้อมือบริเวณฐานนิ้วโป้งอาจอ่อนแรงและฝ่อถาวรหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ แม้ไม่มีวิธีการป้องกัน Carpal Tunnel Syndrome โดยตรงได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ความหมาย กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal Tunnel Syndrome)
อาการของ Carpal Tunnel Syndrome
สาเหตุของ Carpal Tunnel Syndrome
การวินิจฉัย Carpal Tunnel Syndrome
การรักษา Carpal Tunnel Syndrome
หากการรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียน ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือ เพื่อขยายขนาดช่องข้อมือ ซึ่งช่วยลดแรงกดบริเวณเส้นประสาทมีเดียน โดยศัลยแพทย์อาจให้ยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ และยาระงับอาการปวดปริมาณเล็กน้อยทางหลอดเลือดดำ โดยการผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือมี 2 วิธี ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนของ Carpal Tunnel Syndrome
การป้องกัน Carpal Tunnel Syndrome