Illness name: พิษสุนัขบ้า
Description: พิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือที่เรียกกันว่า โรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสที่มีสาเหตุจากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัดหรือข่วน โดยเฉพาะสุนัข ซึ่งเชื้อดังกล่าวส่งผลกระทบระบบประสาทส่วนกลาง และจะมีความรุนแรงมากจนถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือฉีดวัคซีนป้องกันทันเวลา ทั้งนี้สถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนในปี 2558 มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งทั้งหมดต่างไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหลังได้รับเชื้อ อาการของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าในระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เนื่องจากเป็นระยะการฟักตัวของเชื้อที่มักใช้เวลาตั้งแต่ 2-12 สัปดาห์ขึ้นไป หรือบางรายอาจใช้เวลาอย่างเร็วเพียงแค่ 4 วัน ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมาก เพราะหากเลยช่วงนี้ไปจนเข้าช่วงแสดงอาการแล้วมักไม่สามารถรักษาได้ นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้บริเวณที่ถูกกัดยังสามารถส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนและระยะฟักตัวของเชื้อ โดยยิ่งบริเวณที่ติดเชื้ออยู่ใกล้สมองมากเท่าไหร่ เชื้อก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนและฟักตัวได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น การถูกกัดบริเวณใบหน้าจะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อเร็วกว่าการถูกกัดที่บริเวณขา ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้รอยกัดขนาดใหญ่ที่มีเลือดออกก็จะส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อมากกว่ารอยข่วนขนาดเล็ก อาการเริ่มต้นของโรคนี้จะคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยอาจมีไข้ เป็นเหน็บชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงความรู้สึกแสบร้อนที่แผล หลังจากนั้นอาการจะเริ่มพัฒนาไปสู่ระยะที่โรครุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้แล้ว โดยอาการจะแสดงใน 2 ลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละราย กลุ่มอาการสมองอักเสบ พบได้ประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า โดยจะส่งผลให้มีอาการรุนแรงปรากฏในลักษณะต่อไปนี้ กลุ่มอาการแบบอัมพาต พบในผู้ป่วยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาแสดงอาการยาวนานกว่าชนิดสมองอักเสบ และจะส่งผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยค่อย ๆ อ่อนแรงลงและเป็นอัมพาต นำไปสู่อาการโคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด สาเหตุโรคพิษสุนัขบ้า พิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าเรบีส์ สัตว์ที่ติดเชื้อโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนหรือสัตว์อื่น ๆ ด้วยการกัด นอกจากนี้ แผลตามร่างกายหรือเยื่อบุตาและปากที่สัมผัสเข้ากับน้ำลายของสัตว์ติดเชื้อนั้น ๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน แต่พบได้น้อย ไม่เพียงแต่สุนัขเท่านั้นที่สามารถแพร่กระจายเชื้อมาสู่คนได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใดก็ตามล้วนสามารถส่งผ่านเชื้อพิษสุนัขบ้ามาสู่คน ไม่ว่าจะเป็น วัว ม้า แมว แกะ สุนัข รวมถึงสัตว์ป่าทั้งหลาย นอกจากนี้ ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่เดินทางไปแถบที่มีการแพร่ระบาดของโรค มีการสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่า ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสกับเชื้อไวรัสเรบีส์ รวมถึงบางอาชีพ เช่น บุรุษไปรษณีย์ สัตวแพทย์ และผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ ควรต้องระมัดระวังการติดเชื้อชนิดนี้เป็นพิเศษ การวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อพิษสุนัขบ้าสามารถตรวจได้ทั้งในคนและสัตว์ สัตวแพทย์จะตรวจดูว่าในสมองของสัตว์มีลักษณะที่แสดงถึงผลกระทบจากการติดเชื้อหรือไม่ หากไม่พบว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยที่ถูกกัดก็จะไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันหรือรับการรักษา ทั้งนี้การติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในคนจะสามารถวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อมีอาการบ่งบอกแล้วเท่านั้น ทำได้โดยการตรวจน้ำลาย เก็บตัวอย่างเลือด ตรวจของเหลวจากไขกระดูกสันหลัง รวมถึงตัวอย่างผิวหนังแล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดและแพทย์ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าสัตว์ดังกล่าวมีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า การถูกกัดหรือข่วนโดยสัตว์ รวมถึงการถูกสัตว์เลียที่แผลหรือเยื่อบุตา ปาก และจมูกที่นับว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้พิจารณาว่าควรทำการรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อหรือไม่ อย่างไร แพทย์อาจเฝ้าระวังดูสัตว์ที่กัดว่ามีอาการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ รวมทั้งอาจตรวจหาการติดเชื้อในสมอง หากไม่พบร่องรอยแสดงการติดเชื้อ หรือสัตว์นั้น ๆ ได้รับวัคซีนป้องกันอย่างเหมาะสมมาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกกัดในพื้นที่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อพิษสุนัขบ้า และยังยืนยันไม่ได้ว่าสัตว์ดังกล่าวมีเชื้อหรือไม่ จะต้องให้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแก่ผู้ที่ถูกสัตว์กัด การรักษาแผลหลังจากถูกสัตว์ที่เสี่ยงติดเชื้อกัด มีขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การทำความสะอาดแผล แพทย์จะล้างแผลเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาทีด้วยสบู่และน้ำเปล่า และฉีดวัคซีนอิมมูโนโกลบูลินหากในอดีตผู้ป่วยยังได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าไม่ครบ นอกจากนี้ ในรายที่มีอาการบ่งบอกการติดเชื้อ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษาร่วมด้วย ด้านผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ รวมถึงฉีดอิมมูโนโกลบูลินต้านเชื้อพิษสุนัขบ้า โดยฉีดอิมมูโนโกลบูลินให้เร็วที่สุดหลังการถูกกัด ปริมาณที่ควรฉีดจะคำนวนตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย และแบ่งฉีดบริเวณแผลที่ถูกกัดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตาม วัคซีนนี้แพทย์จะฉีดให้ในวันแรกที่ถูกกัดแล้วฉีดซ้ำในวันที่ 3 วันที่ 7 และวันที่ 14 รวมทั้งสิ้น 4 รอบ ทั้งนี้ผู้ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนแล้ว จะให้รับการฉีดกระตุ้น 2 ครั้งในวันแรกที่ถูกกัดและวันที่ 3 โดยไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนชนิดอิมมูโนโกลบูลินร่วมด้วย ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 2 ชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้รู้สึกเจ็บ คัน หรือบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ ปวดท้อง และปวดตามกล้ามเนื้อตามมาได้ กรณีที่โรคพิษสุนัขบ้าพัฒนาไปถึงระยะแสดงอาการ ซึ่งมักไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้วนั้น ไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่แพทย์จะพยายามใช้วิธีที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและเจ็บปวดน้อยที่สุด ภาวะแทรกซ้อนของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่มักเสียชีวิตลงภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเกิดอาการโคม่า โดยสาเหตุมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่ การขาดอากาศหายใจหรือภาวะหยุดหายใจจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว อาการชักในผู้ป่วยกลุ่มสมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาตในผู้ป่วยกลุ่มอาการแบบอัมพาต นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคที่อาจพบได้ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามีข้อควรปฏิบัติดังนี้ความหมาย พิษสุนัขบ้า