Illness name: hpv
Description: HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้มากกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดหูดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น ผู้ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะเกิดหูดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหูดขึ้นอาจมีลักษณะของหูดที่ปรากฏแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของไวรัส ดังนี้ ทั้งนี้ การติดเชื้อ HPV ที่บริเวณปากมดลูกจากการมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปรากฏเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ทางที่ดีจึงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เพื่อให้สามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากนั้นการติดเชื้อ HPV ยังอาจก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน ได้แก่ มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปากและลำคอส่วนบน ซึ่งล้วนไม่มีอาการบ่งบอก จนกว่าจะเข้าสู่ระยะลุกลาม บางรายอาจเกิดหูดหงอนไก่บริเวณทางเดินหายใจ หรือเกิดเยื่อบาง ๆ ภายในกล่องเสียงหลังจากติดเชื้อ 2-3 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีเสียงแหบ โรคติดเชื้อ HPV มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย แม้กระทั่งในช่วงที่ผู้ติดเชื้อยังไม่แสดงอาการก็ตาม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อสู่บุตรระหว่างการคลอดได้ แต่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยบางอย่างอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ยิ่งขึ้น ได้แก่ หากผู้ป่วยมีหูดขึ้นตามผิวหนังและสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ ปัจจุบันการติดเชื้อ HPV ไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ กำจัดเชื้อออกไปเอง ส่วนการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็งหรือหูด จะมีวิธีการแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่พบ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี ซึ่งการตรวจพบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในขณะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีหูดขึ้น แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยา ดังนี้ ทั้งนี้ หากการใช้ยาไม่ช่วยให้หูดยุบ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การผ่าตัดหูด การใช้เลเซอร์ การจี้ด้วยความเย็น การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการใช้ยาหรือกำจัดหูดด้วยวิธีเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV ให้หมดไป ผู้ป่วยจึงอาจกลับมาเป็นหูดซ้ำได้ นอกจากการติดเชื้อ HPV จะทำให้เกิดหูดหรือมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดิมซ้ำจะเสี่ยงเกิดรอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง ซึ่งสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีหูดขนาดใหญ่บริเวณอวัยวะเพศจนไปปิดกั้นช่องคลอดอาจคลอดบุตรยาก นอกจากนี้ เชื้อ HPV ที่อยู่ในร่างกายของมารดาอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสี่ยงเกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงบริเวณกล่องเสียง ทว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก แพทย์มักแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 9-26 ปี ฉีดวัคซีน HPV ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 4 ชนิด และแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 21-65 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพียงไม่กี่ข้อดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อได้ ความหมาย เชื้อเอชพีวี (HPV)
อาการของโรคติดเชื้อเอชพีวี
สาเหตุของโรคติดเชื้อเอชพีวี
การวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวี
การรักษาโรคติดเชื้อเอชพีวี
ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อเอชพีวี
การป้องกันโรคติดเชื้อเอชพีวี