Illness name: ประจำเดือนมาน้อย
Description: ประจำเดือนมาน้อย คือ ภาวะที่มีเลือดประจำเดือนไหลออกมาน้อยกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป ส่วนใหญ่มักเกิดกับวัยรุ่นและผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนผู้ที่มีรอบเดือนตามปกติ แต่มีเลือดประจำเดือนไหลในช่วงสั้น ๆ อาจเป็นเพราะกำลังอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงมีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมรอบเดือน หรืออาจเกิดจากสาเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน ดังนั้น หากประจำเดือนมาน้อย และประจำเดือนขาดบ่อย ๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาให้ประจำเดือนมาตามปกติ อาการประจำเดือนมาน้อย โดยทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงอยู่ในช่วง 21-35 วัน และมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนมาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วัน แต่บางรายอาจมีประจำเดือนประมาณ 2-7 วัน ซึ่งเป็นภาวะปกติ โดยเลือดที่ไหลออกมานั้น อาจมีปริมาณมาก ปานกลาง หรือน้อยแตกต่างกันไป ผู้ป่วยอาจมีภาวะประจำเดือนมาน้อยโดยไม่มีสาเหตุ อาจเผชิญปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อยู่ หรืออาจเกิดภาวะเลือดออกในช่องคลอด ดังนั้น ควรสังเกตอาการ และไปปรึกษาแพทย์ทันที หากมีภาวะต่อไปนี้ สาเหตุประจำเดือนมาน้อย หากเคยมีเลือดประจำเดือนไหลปกติ หรือประจำเดือนมามากอย่างสม่ำเสมอมาก่อน อาการประจำเดือนมาน้อยอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้ และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ นอกจากนี้ อาจมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนที่มาน้อยกว่าปกติได้ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในช่องคลอด ดังนั้น หากผู้ป่วยพบความผิดปกติของประจำเดือน หรือสงสัยว่าเลือดที่ไหลออกมาอาจไม่ใช่เลือดประจำเดือน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา การวินิจฉัยประจำเดือนมาน้อย แม้ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ แต่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบสัญญาณที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพได้ เช่น ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 3 เดือน โดยไม่ได้ตั้งครรภ์ คาดว่าอาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ก่อนมีประจำเดือน มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือมีอาการปวดระหว่างรอบเดือน เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของประจำเดือนมาน้อยด้วยการซักประวัติการเจ็บป่วยหรือการรักษาก่อนหน้า ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในปัจจุบัน ความผิดปกติของรอบเดือน อาการที่เกิดขึ้น ปัญหาทางอารมณ์ที่เผชิญอยู่ ยาที่กำลังรับประทาน ปริมาณการออกกำลังกาย และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้ การรักษาประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และอาจไม่ใช่สัญญาณปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่หากภาวะประจำเดือนมาน้อยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดตามสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่ประจำเดือนมาน้อยโดยไม่มีสาเหตุ และเป็นติดต่อกันยาวนาน แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนยา และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่าง นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมนร่างกายให้ประจำเดือนมาตามปกติ การป้องกันประจำเดือนมาน้อย การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ตามปกติ และอาจช่วยป้องกันประจำเดือนมาน้อยได้ ความหมาย ประจำเดือนมาน้อย