Illness name: h pylori เชื้อเอชไพโลไร
Description: H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีการติดเชื้อชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การติดเชื้อชนิดนี้มักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติได้ โดยอาการที่มักพบ ได้แก่ หากอาการข้างต้นเกิดขึ้นเรื้อรังหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด และหากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สาเหตุของการติดเชื้อ H. Pylori นั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ การติดเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในเด็ก และจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ H. Pylori หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดที่มีสุขาภิบาลไม่ดี เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อ H. Pylori จะเข้าไปโจมตีเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ ผู้ที่มีอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อ H. Pylori จนเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าวอย่างแน่ชัด โดยแพทย์จะซักประวัติสุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่ใช้อยู่ และหากผู้ป่วยมีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์อาจสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน เป็นต้น เนื่องจากยาดังกล่าวอาจส่งผลต่อกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูว่ามีอาการท้องอืด อาการกดเจ็บที่ท้อง หรืออาการปวดท้องลักษณะใด ๆ หรือไม่ และอาจใช้หูฟังตรวจดูการทำงานภายในช่องท้องร่วมด้วย ซึ่งหากสันนิษฐานว่าผู้ป่วยอาจติดเชื้อ H. pylori แพทย์จะสั่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ ทั้งนี้ ในการตรวจวินิจฉัยบางวิธี ได้แก่ การตรวจลมหายใจ และการตรวจอุจจาระ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต และยาปฏิชีวนะ เป็นเวลาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อไม่ให้ยาส่งผลกระทบต่อการตรวจ เมื่อได้ผลการทดสอบแล้วแพทย์จะนำมาใช้ประกอบการวินิจฉัยและวางแผนในการรักษาต่อไป การติดเชื้อ H. Pylori รักษาให้หายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยในเบื้องต้นผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาหรือแบ่งรับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5-6 มื้อ เพื่อไม่ให้ท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลานาน และช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รวมทั้งต้องใช้ยาปฏิชีวนะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยจะให้ใช้ยาเป็นเวลาเพียง 7-14 วัน ยาปฏิชีวนะที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ ยาเมโทรนิดาโซล ยาอะม็อกซี่ซิลลิน และยาคลาริโทรมัยซิน นอกจากนี้ แพทย์จะสั่งหรือแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรดร่วมด้วยเพื่อยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารซึ่งส่งผลให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าลง ยาที่มักใช้ ได้แก่ ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารกลุ่มพีพีไอ ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาที่มีส่วนประกอบของแอสไพริน และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ หากเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก แพทย์จะให้ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลทันทีเพื่อความปลอดภัย หลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติิดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยา เพราะมีความเป็นไปได้ว่าเชื้ออาจดื้อยา การติดเชื้อ H. Pylori ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี แผลดังกล่าวอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา เช่น การติดเชื้อ H. pylori จนเกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้นป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อและลดพฤติกรรมที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนี้ความหมาย เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori)
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไร
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร
การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไพโลไร
การรักษาการติดเชื้อเอชไพโลไร
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไพโลไร
การป้องกันการติดเชื้อเอชไพโลไร