Illness name: hypokalemia
Description: Hypokalemia คือ ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท้องผูก อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก ภาวะนี้อาจเกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก ท้องเสียหลายครั้ง ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายมากเกินไป ทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป โพแทสเซียม คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่มีส่วนในการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และโพแทสเซียมส่วนเกินจะถูกไตขับออกทางระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ซึ่งระดับปกติของปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ที่ 3.6-5.2 มิลลิโมล/ลิตร ส่วนผู้ป่วย Hypokalemia จะมีระดับโพแทสเซียมต่ำกว่า 3.5 มิลลิโมล/ลิตร ลักษณะและความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือด หากโพแทสเซียมลดลงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจยังไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการไม่รุนแรงนัก เช่น หากระดับโพแทสเซียมในเลือดลดลงต่ำมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น สาเหตุหลักของ Hypokalemia คือ การใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจ จนอาจทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมปริมาณมาก นอกจากนี้ Hypokalemia อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น แพทย์จะวินิจฉัยภาวะ Hypokalemia ด้วยการซักประวัติผู้ป่วย และสอบถามอาการที่ปรากฏร่วมกับการอาเจียนหรือท้องเสีย จากนั้น แพทย์จะตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของระดับโพแทสเซียม รวมทั้งแร่ธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น กลูโคส แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส ไทรอยด์ฮอร์โมน และอัลโดสเตอโรนฮอร์โมน เป็นต้น หลังจากนั้น แพทย์อาจทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น วิธีรักษา Hypokalemia คือ ลดการเสียโพแทสเซียม เสริมโพแทสเซียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม และหาสาเหตุของการป่วย เพื่อรักษาและป้องกันอาการป่วยได้อย่างถูกจุด ซึ่งการรักษาอาจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ด้วย หากอาการไม่รุนแรงมาก อาจรักษาได้โดยใช้โพแทสเซียมชนิดรับประทาน หรือบริโภคอาหารเสริมโพแทสเซียม โดยผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง บางกรณี แพทย์อาจต้องหยอดโพแทสเซียมเข้าทางหลอดเลือดดำ หากผู้ป่วยใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมแล้วปริมาณโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงขึ้น ระดับโพแทสเซียมของผู้ป่วยต่ำมากถึงขั้นวิกฤติ หรือระดับโพแทสเซียมของผู้ป่วยต่ำมากจนอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะ Hypokalemia อาจรักษาและป้องกันภาวะนี้ได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ หากจะหยุดใช้ยาชนิดใด หรือจะใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมด้วยตนเอง เนื่องจากผู้ป่วยอาจได้รับโพแทสเซียมในปริมาณมากเกินไป และเสี่ยงทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นจนเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วย Hypokalemia อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ยิ่งไปกว่านั้น แม้อาการของ Hypokalemia จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเคยหัวใจวายมาก่อน ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ที่ 4 มิลลิโมล/ลิตร เสมอ วิธีการป้องกัน Hypokalemia มีดังนี้ ความหมาย ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
การวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
การป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ