Illness name: กระดูกทับเส้น
Description: กระดูกทับเส้น (Herniated Disc) คือปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกอย่างหนึ่ง เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลายจนเสียหาย ส่งผลให้ไปกดทับเส้นประสาท แนวกระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกสันหลังจำนวน 30 ชิ้น เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนคอ 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลาง 12 ชิ้น และกระดูกสันหลังส่วนล่างหรือเอวอีก 5 ชิ้น แต่ละส่วนของกระดูกสันหลังบริเวณคอ อก และเอวทั้ง 24 ชิ้นนี้ เชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่อซึ่งเป็นแผ่นกลมเรียกว่าหมอนรองกระดูก ด้านในหมอนรองกระดูกมีลักษณะนุ่มเหนียว ส่วนด้านนอกแข็ง หมอนรองกระดูกช่วยให้หลังมีความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหวและปกป้องกระดูกจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทกอย่างการเดิน ยกของ หรือบิดตัว ส่วนกระดูกสันหลังชิ้นที่ 25-30 เชื่อมต่อยาวมาถึงบริเวณก้นกบเป็นเส้นเดียวกัน ไม่มีหมอนรองกระดูกรองรับเหมือนกระดูกสันหลัง 24 ชิ้นแรก หากได้รับบาดเจ็บหรือกระดูกเสื่อม มักส่งผลให้หมอนรองกระดูกแตก และกระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมา เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกระดูกทับเส้นทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดและไม่สบายตัว หากกระดูกที่เคลื่อนออกมานั้นกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาหรือนำกระดูกที่ทับเส้นออกไป โดยส่วนใหญ่ อาการกระดูกทับเส้นมักเกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและกระดูกใต้กระเบนเหน็บ อาการกระดูกทับเส้น กระดูกทับเส้นเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ซึ่งกระดูกสันหลังส่วนล่างเป็นบริเวณที่เกิดกระดูกทับเส้นได้บ่อย ทั้งนี้ กระดูกสันหลังประกอบด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือดที่มีโครงสร้างซับซ้อน เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนจึงทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบแนวกระดูกสันหลังได้ ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นมักมีอาการ ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดร้าวลงขาเมื่อต้องเดินในระยะทางสั้น ๆ และอาการแย่ลงเมื่อยืนขึ้น นั่งลง เคลื่อนไหวบางท่า หรือตอนกลางคืน สาเหตุของกระดูกทับเส้น กระดูกทับเส้นมักเกิดขึ้นเมื่อส่วนนอกของหมอนรองกระดูกแตก ทำให้กระดูกอ่อนที่อยู่ข้างในโผล่ออกมา และกดทับเส้นประสาท สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกแตกนั้นเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกมักสูญเสียมวลน้ำ ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นและแตกได้ง่าย แต่โดยทั่วไป ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดกระดูกทับเส้นได้อย่างชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่นำไปสู่กระดูกทับเส้น ดังนี้ การวินิจฉัยกระดูกทับเส้น การวินิจฉัยกระดูกทับเส้น เริ่มด้วยการตรวจเบื้องต้น ดังนี้ โดยปกติ แพทย์จะไม่ตรวจเพิ่มเติม นอกจากการซักประวัติ อาการ การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจดูกำลังกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเบื้องต้น ซึ่งเพียงพอในการวินิจฉัย อาการกระดูกทับเส้นจะทุเลาและดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน แต่หากเจ็บปวดมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นหลังจาก 3 เดือน หรือผู้ป่วยสงสัยว่าเส้นประสาทที่ผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุอื่น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมและหาความผิดปกติให้ชัดเจนมากขึ้น แพทย์จะตรวจวินิจฉัยประสิทธิภาพการทำงานของเส้นประสาทว่าเป็นอย่างไร ประกอบการตัดสินใจเพื่อผ่าตัด วิธีการตรวจอื่นๆ ได้แก่ การรักษากระดูกทับเส้น ส่วนใหญ่แล้ว อาการกระดูกทับเส้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นหากผู้ป่วยได้พักผ่อน ออกกำลังกาย และรับประทานยาบรรเทาอาการของโรค ซึ่งจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 1-3 เดือน อย่างไรก็ตาม วิธีรักษากระดูกทับเส้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งแบ่งประเภทได้ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกทับเส้น ผู้ป่วยที่มีอาการกระดูกทับเส้นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลายถาวรได้ มีผู้ป่วยน้อยรายที่หมอนรองกระดูกจะเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทของรากประสาทหางม้า โดยทั่วไปแล้ว ไขสันหลังไม่ได้มีเพียงเส้นเดียวตลอดแนวโพรงกระดูกสันหลัง นับตั้งแต่บั้นเอวลงไปจะมีไขสันหลังที่แตกออกเป็นหหลายเส้นคล้ายหางม้า จึงเรียกว่า รากประสาทเอวและกระเบนเหน็บ หรือรากประสาทหางม้า (Cauda Equina) หากรากประสาทหางม้าถูกกระดูกกดทับ ควรได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตถาวร ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้ การป้องกันกระดูกทับเส้น กระดูกทับเส้นสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ปวดหลังและเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนจนกดทับเส้นประสาท ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการกระดูกทับเส้นสามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาและไม่แย่ลงเกินไปนัก โดยแนวทางการดูแลและป้องกันกระดูกทับเส้นมีดังนี้ ความหมาย กระดูกทับเส้น