Illness name: ไฝ
Description: ไฝ (Mole) จุดเล็ก ๆ ที่มักปรากฏเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำบนผิวหนัง อาจมีลักษณะแบน นูนขึ้น มีพื้นผิวเรียบหรือขรุขระ หรือบางครั้งก็มีเส้นขนขึ้นบนไฝ ไฝตามร่างกายพบได้เป็นปกติและมักขึ้นในช่วงระหว่างวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น โดยขนาดและรูปร่างของไฝยังอาจเปลี่ยนแปลงไปหรือจางลงเมื่ออายุมากขึ้นและส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็มีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งเมลาโนมาซึ่งพบได้น้อยมาก อาการของไฝ ลักษณะทั่วไปของไฝจะปรากฏเป็นวงกลมหรือวงรีขอบเรียบจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลเข้ม ส่วนสีอื่น ๆ ที่สามารถพบได้เช่นกัน ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน ดำ แทน แดง ชมพู หรือเขียว พื้นผิวอาจเรียบ ขรุขระ แบน นูนขึ้นจากผิวหนัง หรือมีขนขึ้นบนไฝ ส่วนมากไฝมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 0.6 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดใหญ่กว่านี้ได้ หากเป็นไฝที่ขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิด ไฝสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณบนร่างกาย รวมถึงหนังศีรษะ รักแร้ ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า หรือแม้กระทั่งใต้เล็บก็ตาม คนส่วนใหญ่จะมีไฝที่ประมาณ 10-45 เม็ด โดยจะขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 40 ปี ซึ่งไฝนี้สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปได้ตลอดเวลาหรืออาจจางหายไปเมื่ออายุมากขึ้นก็ได้ แม้โดยทั่วไปไฝมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเมลาโนมาหรือมะเร็งไฝซึ่งถือเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันจึงควรตรวจดูไฝที่เกิดขึ้นใหม่ทุก 2-3 เดือน รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของไฝที่มีอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากไฝนั้นสามารถเปลี่ยนลักษณะไปในช่วงเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ไฝที่ผิดปกติสามารถสังเกตได้ดังนี้ ไฝที่มีลักษณะผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดขึ้นที่บริเวณใดบนร่างกายก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณหลัง แขน ขา และใบหน้า โดยในผู้หญิงมักพบที่บริเวณขาท่อนล่าง แต่ในผู้ชายจะพบได้บ่อยที่หน้าอกและหลัง สาเหตุของการเกิดไฝ ไฝเกิดขึ้นจากเซลล์เม็ดสีหรือเมลาโนไซต์ (Melanocytes) ในผิวหนังที่ทำหน้าที่ผลิตสารสีให้ปรากฏเป็นสีผิวแตกต่างกันไปในแต่ละคน และแทนที่เซลล์เหล่านี้จะแพร่กระจายไปตามผิวหนังตามปกติ กลับมารวมตัวกันเป็นกลุ่มจนเกิดเป็นจุดไฝที่มีสีเข้มโดดเด่นขึ้นมา ไฝสามารถเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น ขยายขนาด หรือเพิ่มจำนวนขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้ การวินิจฉัยไฝ การวินิจฉัยด้วยตนเอง แม้ว่าไฝจะเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนังและมักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ส่วนมากพบว่าเป็นไฝที่มีลักษณะแตกต่างจากไฝทั่วไปหรือไฝที่เพิ่งขึ้นใหม่หลังจากอายุ 30 ปี ดังนั้นการตรวจดูไฝผิดปกติที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังในเบื้องต้นจึงสามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการส่องดูด้วยกระจกหรือให้ผู้อื่นช่วยตรวจดูโดยทั่วตั้งแต่หนังศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บมือ ง่ามนิ้ว รักแร้ หน้าอก อวัยวะเพศ หรือแม้กระทั่งระหว่างก้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวหนังบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อย ๆ เช่น มือ แขน ขา หน้าอก หลัง ใบหน้า และใบหู การตรวจดูใช้การสังเกตจากสี ขนาด ลักษณะรูปร่างว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจึงควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อวินิจฉัยอย่างแน่ชัด นอกจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของไฝแล้ว อาการอื่นที่สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติได้เช่นกัน ได้แก่ อาการคัน เจ็บ ช้ำ มีเลือดออก หรือมีของเหลวไหลออกจากไฝ การวินิจฉัยโดยแพทย์ เบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูด้วยสายตา โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งเมลาโนมา หากมีความเสี่ยงจึงวินิจฉัยต่อด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งเป็นการตัดเอาตัวอย่างไฝที่น่าสงสัยไปส่งตรวจด้วยกล้องไมโครสโคปโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งนี้ในการตัดเอาไฝออกมานี้ แม้ไฝดังกล่าวจะเป็นเซลล์มะเร็งแต่ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของมะเร็งแต่อย่างใด การรักษาไฝ ไฝปกติทั่วไปนั้นไม่จำเป็นต้องเอาออกแต่อย่างใด แต่หากเป็นไฝที่ขึ้นบริเวณหนวดหรือเครา แพทย์ก็อาจแนะนำให้เอาออกเนื่องจากสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองจากการโกนหนวดได้ รวมถึงไฝตามส่วนต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียดสี หรือเป็นความต้องการของผู้ป่วยเนื่องจากไฝดังกล่าวส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจ การนำไฝออกใช้เวลาเพียงไม่นานและสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกันหลังรับการรักษา ทั้งนี้หากพบว่าไฝดังกล่าวขึ้นมาใหม่อีกครั้งให้รีบกลับไปพบแพทย์ทันที โดยวิธีตัดไฝออกที่แพทย์อาจเลือกใช้มีดังนี้ สำหรับไฝที่วินิจฉัยพบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะใช้กระบวนการทางการแพทย์ผ่าตัดเอาไฝทั้งหมดออก รวมถึงพื้นที่ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ไฝนั้น แล้วเย็บแผลให้ปิดเป็นปกติ ภาวะแทรกซ้อนของไฝ มะเร็งไฝหรือมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาเป็นภาวะแทรกซ้อนหลักจากไฝ ซึ่งแต่ละคนมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นมะเร็งเมลาโนมาของไฝมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การมีไฝขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 0.6 เซนติเมตร มีจำนวนไฝเกินกว่า 50 เม็ด มีลักษณะหรืออาการผิดปกติบริเวณที่ไฝขึ้น หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ การป้องกันการเกิดไฝ เนื่องจากการเผชิญแสงแดดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเพิ่มจำนวนของไฝ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาไปเป็นมะเร็งเมลาโนมา จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดด้วยการทำตามวิธีการต่อไปนี้ นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจดูผิวหนังเป็นประจำ โดยสังเกตและจดจำไฝบริเวณต่าง ๆ ร่างกาย หมั่นดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ อาจตรวจดูเดือนละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งเมลาโนมา เมื่อพบว่าผิดปกติจึงไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม หากเป็นมะเร็งเมลาโนมาจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีความหมาย ไฝ
หากสังเกตเห็นลักษณะของไฝหรืออาการผิดปกติใด ๆ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นำไฝออกไปแล้วแต่ยังขึ้นมาใหม่ หรือมีไฝยังคงขึ้นมาใหม่ในช่วงอายุเกินกว่า 30 ปี เหล่านี้ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อให้ตรวจดู ป้องกันอันตรายจากมะเร็งไฝที่อาจเกิดขึ้น