Illness name: pectus excavatum
Description: Pectus Excavatum หรือภาวะอกบุ๋ม เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของกระดูกหน้าอกและซี่โครง ส่งผลให้บริเวณกลางอกยุบลงมากกว่าปกติ ถ้าอาการไม่รุนแรงมักไม่กระทบต่อการทำงานของระบบอื่นในร่างกาย แต่หากมีภาวะอกบุ๋มอย่างรุนแรงอาจทำให้การทำงานของปอดและหัวใจมีปัญหา เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยครั้ง เป็นต้น ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของ Pectus Excavatum ได้อย่างชัดเจน ส่วนมากมักพบในเด็กผู้ชายมากว่าเด็กผู้หญิง โดยอาการจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนต้น จึงทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบต่อสภาพจิตใจเช่นกัน เนื่องจากสามารถสังเกตเห็นจากรูปร่างภายนอก ผู้ที่มีภาวะ Pectus Excavatum จะมีกระดูกกลางหน้าอกบุ๋มลึกเข้าไปมากกว่าปกติ โดยอาจจะบุ๋มลึกมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ ในกรณีที่มีภาวะ Pectus Excavatum อย่างรุนแรงจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและปอด เนื่องจากผู้ป่วยจะมีพื้นที่บริเวณหน้าอกน้อยกว่าปกติ ซึ่งกระดูกหน้าอกอาจกดทับปอดและหัวใจจนส่งผลให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง หัวใจเต้นเร็ว เสียงการเต้นหัวใจผิดปกติโดยเป็นเสียงฟู่ ๆ ใจสั่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยครั้ง มีเสียงหวีดขณะหายใจ ไอ เจ็บหน้าอก มีอาการอ่อนเพลีย ดูอิดโรย นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวยังส่งผลถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วย เช่น สูญเสียความมั่นใจในตนเองและไม่กล้าทำกิจกรรมที่ต้องเปิดเผยร่างกาย รู้สึกอับอาย ความพึงพอใจในตนเองต่ำ หรือเป็นโรคซึมเศร้า เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว และยังพบภาวะ Pectus Excavatum ในผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุความเกี่ยวข้องของภาวะอกบุ๋มกับโรคที่กล่าวไปข้างต้นได้เช่นกัน แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ตรวจร่างกายเบื้องต้น และตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจอื่น ๆ เช่น ตรวจการทำงานของปอดเพื่อดูปริมาณอากาศที่ปอดสามารถกักเก็บได้และวัดความเร็วในการปล่อยลมของปอด หรือการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเพื่อดูการทำงานของปอดและหัวใจขณะผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่มีภาวะอกบุ๋มไม่รุนแรงอาจรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ในรายที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงหรือกระดูกเว้าลงลึก แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยสามารถแบ่งการผ่าตัดออกเป็นสองรูปแบบ คือ เป็นการผ่าตัดภายในโพรงเยื่อหุ้มปอดด้วยการใช้กล้องวิดีทัศน์ เพื่อจัดกระดูกให้ได้แนวที่ต้องการ โดยอาศัยการสอดแถบโลหะแทรกเข้าไประหว่างช่องว่างของกระดูกสันอกและเยื่อหุ้มหัวใจ เพื่อช่วยดันให้กระดูกหน้าอกยกตัวขึ้นมาอยู่ในระดับปกติ แต่ภายหลังการผ่าตัด 2-3 ปี แพทย์จะผ่าตัดนำโลหะดังกล่าวออกจากร่างกาย ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุ 14-21 ปี เป็นการผ่าตัดเปิดบริเวณกลางหน้าอกเพื่อนำกระดูกอ่อนที่ขึ้นผิดรูปร่างที่เชื่อมอยู่กับซี่โครงใต้กระดูกหน้าอกออกก่อน จากนั้นจะจัดกระดูกหน้าอกให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องและใส่แท่งโลหะดามกระดูกไว้ ซึ่งแท่งโลหะดังกล่าวจะถูกนำออกจากร่างกายของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ผู้ป่วยที่มีภาวะ Pectus Excavatum รุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของปอดและหัวใจ เช่น ปอดไม่สามารถขยายได้อย่างเต็มที่ หรือความผิดปกติดังกล่าวอาจเบียดหัวใจจนเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดในหัวใจ เป็นต้น หากเป็นผู้ป่วยเด็กก็อาจสูญเสียความมั่นใจ หลีกเลี่ยงหรือไม่กล้าทำกิจกรรมที่ต้องเปิดเผยสรีระของตนเอง อย่างการว่ายน้ำ เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิดและยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่หากสังเกตเห็นความผิดปกติบริเวณหน้าอกของบุตรหลานหรือมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคที่มีอาการเกี่ยวข้องกับภาวะ Pectus Excavatum เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ โรคหนังยืดผิดปกติ หรือโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ควรเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุดความหมาย Pectus Excavatum
อาการของ Pectus Excavatum
สาเหตุของ Pectus Excavatum
การวินิจฉัย Pectus Excavatum
การรักษา Pectus Excavatum
การผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้อง
การผ่าตัดใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนของ Pectus Excavatum
การป้องกัน Pectus Excavatum