Illness name: ไทรอยด์เป็นพิษ
Description: ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ส่วนหน้าของบริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ ลักษณะทางกายภาพของต่อมแบ่งเป็นทั้งหมด 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งต่อมทั้ง 2 ซีกจะเชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่ออิสมัส (Isthmus) โดยต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทโรซีน (Thyroxine - T4) และฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine - T3) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกายและฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งถ้าหากเกิดความผิดปกติจนทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ฮอร์โมนไทโรซีน และฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน ก็จะถูกผลิตออกมามากจนกลายเป็นพิษ อาการของไทรอยด์เป็นพิษ อาการไทรอยด์เป็นพิษค่อนข้างคลุมเครือและคล้ายกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ทั้งนี้ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่รุนแรงมากนัก ก็อาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาการมักไม่ค่อยแสดงออกอย่างชัดเจนมากนัก อย่างไรก็ตามอาการต่อมไทยรอยด์เป็นพิษก็ถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการที่พบได้มากที่สุดในคนที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษก็คือ อาการคอพอก ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกหรือเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ ซึ่งบางครั้งแพทย์ก็อาจสามารถตรวจพบอาการคอพอกได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคไทรอยด์เป็นพิษได้ เช่น ทั้งนี้หากเริ่มมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณสำคัญของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือเกิดจากเนื้องงอกที่บริเวณต่อมหมวกไตได้ หากปล่อยไว้จะยิ่งรักษาได้ยากมากขึ้น สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย และมีสภาวะเป็นพิษ จนส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ โดยไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ การวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ การวินิจฉัยด้วยตัวเอง วิธีวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ก็คือการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนักลดผิดปกติ มือสั่น เหนื่อยง่าย หายใจสั้น หรือมีอาการบวมที่บริเวณคอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ชัด การวินิจฉัยโดยแพทย์ การวินิจฉัยอาการโดยแพทย์สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือประวัติการรักษา รวมถึงการตรวจร่างกายภายนอกเพื่อหาสัญญาณของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งสัญญาณของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ หากมีอาการเหล่านี้ แพทย์อาจทำการสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ 2 วิธีคือ การตรวจเลือด และการเอกซเรย์ การตรวจเลือด - การตรวจเลือดจะเน้นไปที่การตรวจเพื่อเช็กการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการเผาผลาญ เช่น การเอกซเรย์ - จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นการทำงานและความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ได้ชัดขึ้น โดยใช้วิธีดังนี้ ทั้งนี้หากเอกซเรย์แล้วพบว่ามีการพบเนื้องอก ก็จะต้องมีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจต่อไปว่าใช่เนื้องอกจากโรคมะเร็งหรือไม่ เมื่อแพทย์ทราบสาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษแล้วจึงรักษาในขั้นต่อไป การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น อายุ เงื่อนไขทางร่างกาย รวมถึงสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยวิธีที่ใช้ในการรักษามีดังนี้ นอกจากนี้ ในระหว่างการรักษาโรคไทรอยด์ ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่มีแคลเซียมและโซเดียมให้มากขึ้น แต่ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ไทรอยด์เป็นพิษยังทำให้กระดูกบางลง ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมและวิตามินดีควบคู่กันไปด้วยทั้งในระหว่างการรักษาหรือหลังจากหายแล้ว เพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำปริมาณของอาหารเสริม และช่วยวางแผนในการรับประทานอาหารรวมทั้งการออกกำลังกายแก่ผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนของโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยส่วนใหญ่แล้ว หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อย แต่ถ้าหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจังก็อาจพบกับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ เช่น ไม่เพียงเท่านั้น ในกลุ่มสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ โรคไทรอยด์เป็นพิษอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้วางแผนในการควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงแพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาให้เหมาะสมต่อไป วิธีป้องกันโรคไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษหากสิ้นสุดการรักษาแล้ว การติดตามผลในระยะยาวก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เพื่อไม่ให้โรคไทรอยด์เป็นพิษกลับมาเป็นซ้ำอีก หากสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงโรคไทรอยด์เป็นพิษมากขึ้น โดยในการติดตามผล แพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อเฝ้าระวังอาการและเตรียมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพความหมาย ไทรอยด์เป็นพิษ