Illness name: tga กลุ่มอาการลืมเหตุการณ
Description: TGA (Transient Global Amnesia) หรือกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว เป็นการสูญเสียความจำชั่วคราวที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยอาจไม่สามารถจดจำข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ทำให้สับสนในเรื่องสถานที่และเวลา เช่น ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน หรือมาอยู่ในสถานที่ดังกล่าวได้อย่างไร เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวอาจทำให้รู้สึกกังวล และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม อาการนี้พบได้ไม่บ่อยนักและไม่เป็นอันตราย โดยมักจะเกิดเพียงช่วงสั้น ๆ แต่จากนั้นความจำจะกลับมาภายในประมาณ 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะไม่ลืมว่าตัวเองเป็นใครและยังสามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ เพียงแต่จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ๆ โดยอาจมีอาการผิดปกติที่สังเกตได้ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการสับสน สูญเสียความทรงจำ หรือไม่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้าย TGA ได้ด้วย อย่างโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคลมชัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำอย่างฉับพลันได้เช่นกัน ปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ TGA แต่พบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นไมเกรนอาจมีความเสี่ยงเผชิญภาวะนี้สูงกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้น อาจมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิด TGA ได้ ดังนี้ อาการของ TGA อาจคล้ายคลึงกับภาวะอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะชัก การบาดเจ็บที่สมอง เป็นต้น ดังนั้น แพทย์จึงจะตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจว่าอาการลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากโรคที่มีความรุนแรง โดยในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ ประวัติสุขภาพ หรือยาที่กำลังใช้อยู่ และอาจใช้วิธีวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ การตรวจทางระบบประสาท เพื่อดูว่าสมองทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้วิธีตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อ ตรวจรูม่านตาด้วยแสงไฟ และตรวจการทรงตัวของผู้ป่วย เป็นต้น การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อแยกโรคและหาสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำที่เกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การติดเชื้อ การขาดวิตามินบี 1 เป็นต้น การทำ MRI Scan เป็นการวินิจฉัยด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อช่วยให้เห็นภาพความเสียหายภายในสมองอย่างละเอียด การทำ CT Scan เป็นการใช้เครื่องเอกเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อฉายภาพภายในสมองในมุมต่าง ๆ โดยวิธีนี้สามารถบอกถึงความผิดปกติของโครงสร้างสมองได้ เช่น เส้นเลือดสมองที่ตีบแคบ เหยียดตึงเกิน หรือแตกออก เป็นต้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง (Electroencephalogram) เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองด้วยขั้วไฟฟ้าที่ติดไว้บริเวณหนังศีรษะ เพื่อตรวจดูว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโรคลมชักหรือไม่ เพราะผู้ที่มีอาการลมชักนั้นอาจมีคลื่นสมองที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าจะไม่มีอาการชักปรากฏให้เห็นก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะ TGA อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เนื่องจากอาการสามารถหายไปได้เองและมักไม่เกิดผลกระทบหรือเกิดขึ้นซ้ำในภายหลังแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยเกิดภาวะ TGA ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและติดตามผลอย่างน้อย 1 ครั้ง และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความดันในทรวงอกเพิ่มขึ้น เพราะเสี่ยงทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงจนอาจเกิดภาวะ TGA ขึ้นอีกครั้ง ส่วนบุคคลรอบข้างสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ เนื่องจากอาจมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเอง โดยอาจกลัวว่าจะเกิดขึ้นซ้ำ หรือคิดไปเองว่าตนป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น เนื้องอก โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ดังนั้น หากผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิด TGA ได้อย่างแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่ชัด สิ่งที่พอจะทำได้ คือ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หนักเกินไป ระมัดระวังไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ จัดการกับความเครียดที่อาจเกิดจากการทำงานหนักหรือความขัดแย้งกับผู้อื่น และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการตรวจรักษาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการ TGA ตามมาได้ เป็นต้นความหมาย กลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว (TGA)
อาการของกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว
สาเหตุของกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว
การวินิจฉัยอาการกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว
การรักษาอาการกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว
การป้องกันอาการกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว