Illness name: โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
Description: Aplastic Anemia (โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ) เป็นภาวะผิดปกติที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ ทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อาการอ่อนเพลีย เลือดออกง่าย หรือเกิดการติดเชื้อบ่อย เป็นต้น Aplastic Anemia สามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่จะพบได้มากในเด็กและผู้ที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน โดยความรุนแรงของอาการและผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สาเหตุ อายุหรือสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เป็นต้น ในช่วงแรก ผู้ที่ป่วยเป็น Aplastic Anemia อาจไม่มีอาการใด ๆ แต่จะค่อย ๆ แสดงอาการออกในภายหลังตามชนิดเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายที่เกิดความผิดปกติ โดยอาจเกิดเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรัง เช่น Aplastic Anemia เป็นภาวะที่มีความรุนแรงและอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมหากพบอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น เกิดรอยช้ำตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ มีเลือดออกบริเวณเหงือก ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น โดยปกติ ไขกระดูกจะมีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนต่าง ๆ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด แต่ในผู้ป่วย Aplastic Anemia ไขกระดูกจะทำงานผิดปกติไป เนื่องจากไขกระดูกเกิดความเสียหายหรือฝ่อ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ได้ โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักหาสาเหตุที่ส่งผลให้ไขกระดูกเสียหายไม่พบ แต่ในบางกรณี ภาวะดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ในการวินิจฉัย Aplastic Anemia ในเบื้องต้น แพทย์จะสอบถามประวัติ อาการผิดปกติของผู้ป่วย และปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าว เช่น ประวัติการเกี่ยวข้องกับสารพิษ สารเคมี หรือรังสี ยาที่ผู้ป่วยกำลังใช้ ประวัติการติดเชื้อไวรัส หรือประวัติการเกิดโรคทางระบบโลหิตต่าง ๆ ในครอบครัว โดยเฉพาะภาวะ Aplastic Anemia เป็นต้น จากนั้นแพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น นอกจากนี้หากแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Aplastic Anemia แพทย์จะหาสาเหตุของภาวะดังกล่าวด้วยวิธีตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้พิจารณาวิธีการรักษาในขั้นต่อไป ในกรณีที่ภาวะ Aplastic Anemia มีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด การตั้งครรภ์ หรือภาวะอื่นในระยะสั้น อาการอาจค่อย ๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากมีอาการรุนแรงจนต้องได้รับการรักษา แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามอาการของผู้ป่วย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างสาเหตุ ความรุนแรงของอาการ และอายุของผู้ป่วย โดยวิธีการรักษาที่แพทย์มักใช้ เช่น แพทย์อาจให้เลือดผู้ป่วยเพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดที่ไขกระดูกไม่สามารถผลิตออกมาได้เพียงพอ และควบคุมอาการหรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง อาการอ่อนเพลีย หรือเลือดไหลไม่หยุด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาด้วยการให้เลือดเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยเท่านั้น และไม่สามารถรักษา Aplastic Anemia ได้ รวมถึงผู้ที่รับการให้เลือดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างจากการรักษาได้ หากได้รับเลือดมากเกินไป อย่างการมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากเกินปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้อวัยวะสำคัญในร่างกายเกิดความเสียหายได้ วิธีปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นวิธีที่แพทย์จะใช้รังสีหรือยาเคมีบำบัดบางชนิดเพื่อกำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในไขกระดูก จากนั้นแพทย์จะแทนที่เซลล์เม็ดเลือดที่ถูกทำลายไป โดยการฉีดสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำ วิธีนี้มักจะใช้ในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีอาการรุนแรงและสามารถหาสเต็มเซลล์ที่เข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นพี่น้องหรือคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการต่อต้านสเต็มเซลล์ใหม่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือเสียชีวิตได้ แพทย์จึงอาจให้ยาบางชนิดเพิ่มเติมหลังการรักษา เพื่อป้องกันการต่อต้านสเต็มเซลล์ใหม่ของร่างกาย แพทย์อาจใช้ยาบางชนิดในการรักษา Aplastic Anemia เช่น นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ระมัดระวังการเกิดบาดแผลและเลือดออก อย่างการเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการกระแทก การใช้ใบมีดโกน หรือในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มเพื่อป้องกันอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย เป็นต้น ผู้ป่วย Aplastic Anemia อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อบ่อย ๆ เลือดไหลไม่หยุด มะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาบางชนิด อย่างการปลูกถ่ายไขกระดูก เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น เนื่องจากการเกิด Aplastic Anemia ส่วนใหญ่มักหาสาเหตุไม่พบ การป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยวิธีต่อไปนี้ เช่นความหมาย โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia)
อาการของ Aplastic Anemia
สาเหตุของ Aplastic Anemia
การวินิจฉัย Aplastic Anemia
การรักษา Aplastic Anemia
การให้เลือด (Blood Transfusion)
การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant หรือ Stem Cell Transplant)
การรักษาด้วยยา
ภาวะแทรกซ้อนของ Aplastic Anemia
การป้องกัน Aplastic Anemia