Illness name: hodgkins lymphoma
Description: Hodgkin's Lymphoma (ฮอดจ์กินลิมโฟมา) หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดภายในระบบน้ำเหลือง อย่างต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ผู้ป่วยมักจะมีอาการบวมบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ หรือตำแหน่งอื่นที่มีต่อมน้ำเหลือง หากเซลล์มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นก็อาจทำให้เกิดอาการที่แตกต่างกันไป โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) และชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma) ตามปกติแล้ว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินเป็นโรคมะเร็งที่พบได้น้อย โดยจะส่งผลให้เกิดเซลล์ผิดปกติชนิดหนึ่งที่ไม่พบในชนิดนอนฮอดจ์กิน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ แพทย์จะรักษาผู้ป่วยตามระยะของโรคและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบเป็นหลัก นอกจากนี้ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ Classic Hodgkin Lymphoma ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ และอีกชนิดที่พบได้น้อยกว่า คือ Nodular Lymphocyte-Predominant อาการหลักของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น เช่น ผิวหนัง ตับ ม้าม ปอด ต่อมไทมัส ต่อมทอนซิล ต่อมอะดีนอยด์ เป็นต้น ในกรณีที่เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นอาจทำให้เกิดอาการที่ต่างกันไป หากลุกลามไปยังระบบทางเดินอาหารอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาหารไม่ย่อย หรือลุกลามไปยังไขสันหลังอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย เลือดออกมากผิดปกติ อย่างเลือดกำเดา ประจำเดือน รอยช้ำตามผิวหนัง อย่างไรก็ตาม หากพบอาการผิดปกติในข้างต้นอย่างต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้อง เพราะอาการบางอย่างอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ Hodgkin's Lymphoma อย่างต่อมน้ำเหลืองโตหรืออาการบวมอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในของ Hodgkin's Lymphoma แต่พบว่ามีการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B Lymphocytes) โดยสันนิษฐานว่าสาเหตุอาจมาจากการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr Virus) และอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระดับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น เป็นโรคอ้วน ติดเชื้อเอชไอวี เคยเป็นโรคมะเร็งหรือเคยติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ หรือเคยรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย มักพบในช่วงอายุ 20 ตอนต้นและหลังอายุ 55 ปี ในกรณีที่มีพี่น้องเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนกลุ่มอื่นเนื่องจากอาจได้รับเชื้อชนิดเดียวกัน อาการของ Hodgkin's Lymphoma เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติในต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายทำงานผิดปกติและต่อมน้ำเหลืองบวมโต เมื่อลุกลามไปยังส่วนอื่นก็จะส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดความผิดปกติตามไปด้วย แพทย์จะสอบถามอาการผิดปกติ โรคประจำตัว ประวัติของครอบครัวผู้ป่วย และตรวจร่างกาย หากมีความเสี่ยงแพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้ วิธีนี้เป็นการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่คาดว่าเกิดความผิดปกติ โดยอาจเป็นการตัดเพียงบางส่วนหรือต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดตามดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็งในห้องปฏิบัติการ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งก็จะช่วยให้แพทย์ทราบได้ว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดใด เป็นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในร่างกายด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เอกซเรย์ (X-ray) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุความถี่สูง (MRI) และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTs) นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้การแสดงภาพภายในร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นในระหว่างการรักษาและวินิจฉัย เช่น หาสาเหตุที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการผิดปกติอื่น ตรวจดูระยะของมะเร็ง ติดตามผลการรักษา หรือตรวจหาสัญญาณอื่นที่อาจทำให้กลับมาเกิดโรคมะเร็งซ้ำ แพทย์อาจเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จำนวนเม็ดเลือดขาว ระดับการทำงานของระบบภายในร่างกาย การติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ หรือโรคอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของ Hodgkin's Lymphoma เป็นต้น หลังการวินิจฉัยในข้างต้น หากแพทย์พบเซลล์มะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองและพบเซลล์รีดสเตนเทิร์นเบิร์ก (Reed-Sternberg Cell) แพทย์อาจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน เพราะชนิดนอนฮอดจ์กินจะไม่พบเซลล์รีดสเตนเทิร์นเบิร์ก โดยขั้นตอนการตรวจเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยหาเซลล์มะเร็ง แต่ยังช่วยตรวจดูการลุกลามของเซลล์มะเร็งว่าแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น อย่างปอด ไขสันหลัง หรือระบบย่อยอาหาร อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์ระบุระยะของโรค ความเสียหายของอวัยวะ และช่วยในการวางแผนการรักษาได้ แพทย์อาจยึดตามเกณฑ์ในการประเมินอาการและระยะของ Hodgkin's Lymphoma เบื้องต้นดังนี้ แพทย์จะรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินในผู้ป่วยละรายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค รวมถึงภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งวิธีที่แพทย์อาจใช้มีดังนี้ เคมีบำบัดหรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อการทำคีโม เป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย ซึ่งเคมีบำบัดสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะและระยะของโรค โดยอาจจะเป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำและยาเม็ด และระยะเวลาการรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ในช่วงแรกของการรักษาผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการและผลข้างเคียง หากการรักษาให้ผลดี โรคอยู่ในระยะสงบ ไม่มีอาการ หรือผลข้างเคียงรุนแรง แพทย์อาจให้ยาแบบไปกลับ (Day Chemotherapy) และไม่ต้องพักฟื้น การทำเคมีบำบัดไม่เพียงทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงด้วย จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย และเลือดออกง่าย เป็นต้น โดยอาการและระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างไป ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้ยาสเตียรอยด์ผ่านทางหลอดเลือดดำควบคู่ไปกับการทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อื่น ๆ เพิ่มขึ้นด้วย รังสีรักษาหรืออีกชื่อที่รู้จักกันคือการฉายแสง เป็นการใช้รังสีที่มีความเข้มข้นในการกำจัดเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยมักใช้ในการรักษาโรคมะเร็งระยะแรก ซึ่งระยะเวลาการรักษาอาจใช้เวลาต่อเนื่องหลายวันและติดต่อกันหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ การฉายรังสีจะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงโดยจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉายรังสี เช่น เจ็บคอ ผมร่วง ผื่นแดง เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stemcell) เพื่อช่วยสร้างเซลล์ต้นกำเนิดที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังจากการรักษา โดยแพทย์จะทำการเก็บสเต็มเซลล์ไขสันหลังจากผู้ป่วย และทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกายด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา หลังจากเชื้อมะเร็งถูกทำลาย แพทย์จะทำการฉีดสเต็มเซลล์ที่เก็บออกมากลับสู่ร่างกายของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย โดยปราศจากเซลล์มะเร็ง ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินชนิดที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจให้ยาต่อไปนี้ในการรักษาเพิ่มเติม โดยอาจใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว แพทย์อาจสั่งจ่ายยาอื่นเพื่อบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน อย่างยาปฏิชีวนะหรือวัคซีนป้องกันโรค เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทั้งอาการของโรคและผลข้างเคียงจากการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น Hodgkin's Lymphoma ไม่มีวิธีป้องกันที่แน่ชัด แต่อาจลดความเสี่ยงลงได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยบางอย่างที่ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง อย่างการติดเชื้อเอชไอวีหรือการควบคุมน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคอ้วนอย่างไรก็ตาม หากพบอาการที่น่าสงสัยติดต่อกัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะการตรวจพบโรคในระยะแรกอาจช่วยให้รักษาได้ง่ายและมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ความหมาย Hodgkin's Lymphoma
อาการของ Hodgkin's Lymphoma
สาเหตุของ Hodgkin's Lymphoma
การวินิจฉัย Hodgkin's Lymphoma
การตรวจเนื้อเยื่อ
การแสดงภาพภายในร่างกาย
การตรวจเลือด
การรักษา Hodgkin's Lymphoma
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
รังสีรักษา (Radiotherapy)
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การใช้ยาสเตียรอยด์
ภาวะแทรกซ้อนของ Hodgkin's Lymphoma
การป้องกัน Hodgkin's Lymphoma