Illness name: delusional disorder โรคหลงผิด
Description: Delusional Disorder หรือโรคหลงผิด เป็นภาวะทางจิตที่ร้ายแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริงเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักดูเป็นปกติและไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด มีเพียงความเข้าใจผิดในบางเรื่อง เช่น เชื่อว่ากำลังถูกปองร้าย เชื่อว่าคนรักนอกใจ เชื่อว่าบุคคลอื่นเป็นคู่รักของตน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวหรือมีพฤติกรรมรุนแรง โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคนถึงบั้นปลายชีวิต เป็นภาวะที่พบได้น้อยและพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่อาจพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วย Delusional Disorder ส่วนใหญ่มักดูปกติและไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด มีเพียงความเข้าใจผิดในบางเรื่องเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน ซึ่งความเข้าใจผิดนี้อาจเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง หรืออาจเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกหงุดหงิด โกรธ หรือเบื่อหน่าย เป็นต้น บางกรณีอาจมีอาการประสาทหลอนด้านการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น หรือรู้สึกถึงบางสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงร่วมด้วย Delusional Disorder อาจแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้ ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ Delusional Disorder เนื่องจากเป็นภาวะที่พบได้น้อยและยากต่อการศึกษาค้นคว้า แต่งานวิจัยบางชิ้นสันนิษฐานว่า อาการเหล่านี้อาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม โดยความผิดปกติทางจิตอาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหลานได้ ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จึงอาจมีบุคคลในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท หรือมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบจิตเภท (Schizotypal) นอกจากนี้ Delusion Disorder อาจเกิดจากปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น แพทย์อาจตรวจประเมินโดยดูจากอาการ ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกายทั่วไป แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคนี้โดยเฉพาะ แต่แพทย์อาจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วย ดังนี้ หากไม่พบความเจ็บป่วยทางร่างกาย แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วย โดยอาจสังเกตจากพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ป่วยผ่านการสัมภาษณ์พูดคุย นอกจากนี้ แพทย์อาจวินิจฉัยตามคู่มือ DSM-5 ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับวินิจฉัยอาการผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่เผยแพร่โดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน โดยแพทย์อาจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการของ Delusional Disorder หากผู้ป่วยมีอาการหลงผิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป และไม่มีลักษณะอาการของโรคอื่น ๆ ที่คล้ายกัน อย่างโรคจิตเภทหรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ การรักษาโรคนี้ แพทย์มักใช้ยาและให้ผู้ป่วยเข้ารับการทำจิตบำบัดควบคู่กันไป นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตัวเองด้วย โดยการรักษาวิธีต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้ การรักษาด้วยยา จิตบำบัด ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะคงที่ ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย Delusional Disorder อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการ สถานการณ์ในชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือต่าง ๆ การให้ความร่วมมือและความเต็มใจในการรักษาภาวะนี้ โดยผู้ป่วยอาจเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์เศร้า หดหู่ และวิตกกังวล ในบางกรณี ความหลงผิดก็อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรงหรือการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้เกิดการจับกุมได้ เช่น การสะกดรอยตาม หรือการล่วงละเมิดผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้ อาการหลงผิดอาจทำลายความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับบุคคลรอบข้าง และอาจทำให้ผู้ป่วยดูแปลกแยกไปจากผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เนื่องจากเหตุผลบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าตนกำลังป่วย หรือรู้สึกอายและกลัวที่จะเข้ารับการรักษา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ อาจส่งผลต่ออาการป่วยในระยะยาวหรือตลอดชีวิตได้ด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกัน Delusional Disorder ได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการที่อาจทำลายชีวิต ครอบครัว และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ตัวได้ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปอาจลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ความหมาย โรคหลงผิด (Delusional Disorder)
อาการของโรคหลงผิด
สาเหตุของโรคหลงผิด
การวินิจฉัยโรคหลงผิด
การรักษาโรคหลงผิด
ยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษา Delusional Disorder ได้แก่
เป็นวิธีที่ใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดเกี่ยวกับความหลงผิดได้ ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลงผิด
การป้องกันโรคหลงผิด