Illness name: ไข้กาฬหลังแอ่น
Description: ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) คือโรคติดเชื้อที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีอันตรายสูง เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในทารก เด็ก และวัยรุ่น ไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคที่อันตราย เนื่องจากเป็นโรคที่มีการลุกลามค่อนข้างเร็ว แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และถึงแม้จะสามารถรักษาได้ ก็เสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้เช่นกัน ไข้กาฬหลังแอ่นที่มักพบได้บ่อยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อาการไข้กาฬหลังแอ่น อาการของไข้กาฬหลังแอ่นค่อนข้างอันตรายและเฉียบพลัน โดยอาการของทั้ง 2 ชนิดค่อนข้างคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ติดเชื้อ ดังนี้ ไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการจะค่อนข้างเฉียบพลันและรุนแรง โดยไข้กาฬหลังแอ่นจะมีระยะเพาะเชื้อประมาณ 4 วัน และอาจเริ่มมีอาการให้เห็นตั้งแต่ประมาณ 2-10 วันหลังจากสัมผัสเชื้อ ทั้งนี้อาการทั่วไปที่สามารถพบในผู้ป่วยกาฬหลังแอ่น ได้แก่ ทว่าในเด็กทารก ผู้ปกครองอาจสังเกตอาการข้างต้นได้ยาก ดังนั้นผู้ปกครองอาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น เด็กอาจมีอการเคลื่อนไหวที่ช้า หรือไม่ตอบสนอง หงุดหงิดง่าย อาเจียน หรือกินนมแม่ได้น้อย ไข้กาฬหลังแอ่นชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด อาการที่สามารถเห็นได้ชัดของโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดนี้ ค่อนข้างอันตราย เพราะนอกจากจะมีอาการแสดงให้เห็นภายนอกแล้ว เชื้อแบคทีเรียยังเข้าไปทำงานในหลอดเลือด ทำให้เกิดเลือดออกภายในร่างกายได้ ทั้งนี้อาการที่สามารถสังเกตได้ในเบื้องต้นได้แก่ ในรายที่อาการรุนแรงและเข้าสู่ระยะหลัง ๆ ที่ผิวหนังจะมีลักษณะม่วงเข้มเป็นปื้น ๆ ซึ่งเกิดมาจากเลือดออกที่บริเวณผิวหนัง ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่ผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาการของไข้กาฬหลังแอ่นเกิดขึ้นค่อนข้างเฉียบพลัน หากไม่รีบทำการรักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น สาเหตุของไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬหลังแอ่นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis) ซึ่งมีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ได้แก่ A, B, C, W, X และ Y เมื่อเชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแสดงอาการให้เห็นประมาณ 4 วัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ โดยทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ คือมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการ ผ่านการจูบ การกอด และการหายใจ ไอ จามรดกัน หรืออยู่ใกล้ชิดกัน โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนกลุ่มอื่นคือกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ การวินิจฉัยไข้กาฬหลังแอ่น หากผู้ป่วยมีอาการไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับอาการปวดศีรษะและคอแข็ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เนื่องจากไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคที่ต้องรีบทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้แพทย์จะเริ่มทำการตรวจด้วยการซักประวัติ เรื่องปัญหาสุขภาพ หรือความเป็นไปได้ที่อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อ จากนั้นแพทย์จะทำการสั่งตรวจด้วยการเจาะน้ำไขสันหลัง และนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ก็จะสามารถพบเชื้อได้ในน้ำไขสันหลัง นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งเจาะเลือดเพิ่มเติมเพื่อนำมาเพาะเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เพื่อระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis) ที่ก่อให้เกิดโรค และเมื่อแพทย์สามารถสรุปการวินิจฉัยได้แล้วก็จะรีบวางแผนและเริ่มต้นการรักษาทันที การรักษาไข้กาฬหลังแอ่น หากผู้ป่วยมีอาการแสดงของไข้กาฬหลังแอ่นที่ค่อนข้างชัดเจน และหากแพทย์มั่นใจว่าผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวภายในโรงพยาบาลทันที และจะรีบทำการรักษาโดยด่วน เนื่องจากหากทำการรักษาล่าช้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยแพทย์จะทำการรักษาดังนี้ นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาหรือวิธีการรักษาอื่น ๆ เพื่อทำการรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากไข้กาฬหลังแอ่น ได้แก่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หากมีแนวโน้มว่าอาจได้รับเชื้อจากผู้ป่วย แพทย์ก็จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะไประยะหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อตามมาในภายหลัง ภาวะแทรกซ้อนของไข้กาฬหลังแอ่น แม้ว่าจะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องพบภาวะแทรกซ้อนจากไข้กาฬหลังแอ่น เนื่องจากโรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้แก่ การป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬหลังแอ่นสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ก็จะช่วยให้ความเสี่ยงลดลงได้ แต่ถ้าได้รับเชื้อควรรีบมาพบแพทย์ อาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ โรคไข้กาฬหลังแอ่นยังสามารถป้องกันได้เบื้องต้นด้วยการฉีดวัคซีน แต่เนื่องจากในประเทศไทย สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดคือสายพันธุ์บี ซึ่งสายพันธุ์นี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงยังไม่มีการแนะนำให้คนไทยฉีดวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น แต่สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคหรือผู้ที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบุให้ทำการฉีดวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นก่อนเดินทางไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ก่อนเดินทาง สำหรับในประเทศไทย วัคซีนที่ใช้สามารป้องกันไข้กาฬหลังแอ่นได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ A, C, Y และ W-135 ซึ่งวัคซีนจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่ ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะต้องรอประมาณ 7-10 วัน ภูมิคุ้มกันของโรคนี้จึงจะเพิ่มขึ้น โดยสามารถป้องกันได้นาน 3-5 ปี ความหมาย ไข้กาฬหลังแอ่น