Illness name: เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส staphylococcus
Description: Staphylococcus หรือเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในจมูก ปาก อวัยวะเพศหรือทวารหนัก ในบางครั้งเชื้อจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิวหนังติดเชื้อเพียงเล็กน้อย เกิดฝีหรือแผลพุพอง อาหารเป็นพิษ แต่หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด หัวใจ ข้อต่อหรือกระดูก อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เชื้อ Staphylococcus สามารถอยู่บนร่างกายได้โดยไม่แสดงอาการผิดปกติหรืออาจแสดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การรักษาอาการติดเชื้อ Staphylococcus จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม เชื้อ Staphylococcus บางชนิดไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ง่ายต่อการดื้อยา ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ Staphylococcus จะมีอาการแตกต่างกันไป เนื่องจากเกิดการติดเชื้อได้หลายตำแหน่งและความรุนแรงของอาการมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการไม่รุนแรงไปจนถึงเป็นอันตรายถึงชีวิต ตัวอย่างอาการติดเชื้อที่พบได้ เช่น เชื้อ Staphylococcus อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังและเกิดอาการต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ Staphylococcus ส่งผลให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ อาการมักเกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว โดยอาการอาจเกิดภายในเวลา 1 ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ และอาการจะคงอยู่ประมาณครึ่งวัน ผู้ที่ได้รับเชื้อ Staphylococcus จากการรับประทานอาหารจะไม่มีไข้ แต่จะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะขาดน้ำ และความดันโลหิตต่ำ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อ Staphylococcus เข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ ความดันโลหิตต่ำ และกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด กระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงอุปกรณ์พิเศษภายในร่างกาย อย่างข้อเทียมหรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น เชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus บางชนิดอาจเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยผ่านทางการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด แผลบริเวณผิวหนังหรือการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยจะมีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นคล้ายผิวไหม้แดดบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า มึนงง ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ปวดท้อง และอาจส่งผลรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปยังบริเวณเข่า หัวไหล่ สะโพก นิ้วมือและนิ้วเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการบวมและเจ็บรุนแรงที่ข้อ และมีไข้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการติดเชื้อที่กระดูก ปอดอักเสบ หรือโรคติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจ ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือดร่วมด้วย หากพบว่าบุตรหลานมีรอยแดงหรือการระคายที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณผิวหนัง แผลพุพอง เป็นหนองและมีไข้ ควรไปพบแพทย์ และผู้ปกครองหรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัวมีอาการในเวลาไล่เลี่ยกัน ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เช่นกัน เชื้อ Staphylococcus จะอยู่ตามร่างกายบริเวณผิวหนังหรือจมูกได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และติดอยู่ตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า กลอนประตู ปลอกหมอนหรือผ้าขนหนู เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลตามร่างกาย การใช้สารเสพติด หรืออาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ ร่างกายของผู้ป่วยบางรายอาจอ่อนแอและติดเชื้อ Staphylococcus ได้ง่าย เนื่องจากปัญหาสุขภาพของแต่ละคนหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับอินซูลิน ผู้ติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ ผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกไต ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคหรือการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด ผิวหนังเสียหายจากภาวะผิวหนังอักเสบ แมลงกัดต่อย หรือบาดแผลขนาดเล็ก และผู้ที่ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) หรือโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากไฟไหม้และผู้ที่มีแผลเนื่องจากการผ่าตัด เชื้อ Staphylococcus อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีท่อเชื่อมต่อกับอวัยวะภายใน เช่น การล้างไต การใส่สายสวนปัสสาวะ การให้อาหารทางสายยาง การใช้ท่อช่วยหายใจและการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ เป็นต้น เชื้อ Staphylococcus จะเข้าสู่ร่างกายทางการสัมผัสร่างกาย แผลถลอกและแผลเปิด ซึ่งเชื้อดังกล่าวอาจแพร่กระจายได้จากการใช้มีดโกน ผ้าขนหนู ชุด หรืออุปกรณ์ร่วมกัน การติดเชื้อ Staphylococcus อาจเกิดจากการล้างมือไม่สะอาดก่อนการประกอบอาหาร ส่งผลให้เชื้อจากผิวหนังลงไปยังอาหาร ซึ่งอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจะไม่แสดงสิ่งผิดปกติและยังมีรสชาติคงเดิม แพทย์จะวินิจฉัยการติดเชื้อ Staphylococcus จากการสอบถามอาการที่เกิดขึ้นและการตรวจร่างกาย ในกรณีที่มีบาดแผลบนผิวหนัง แพทย์จะตรวจดูบริเวณนั้นอย่างละเอียดและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ อุจจาระหรือน้ำมูกเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมตามอาการของแต่ละบุคคล รวมไปถึงการทำเอ็กโคหัวใจ (Echocardiogram) ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดการติดเชื้อบริเวณหัวใจ แพทย์จะรักษาโรคติดเชื้อ Staphylococcus ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของแบคทีเรียในร่างกายของผู้ป่วย รูปแบบของยาปฏิชีวนะมีทั้งแบบรับประทานหรือแบบฉีดเข้าหลอดเลือด เช่น ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียขั้นรุนแรงเนื่องจากเชื้อดื้อยา แพทย์จะใช้ยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) และยาปฏิชีวนะบางชนิดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย เป็นต้น ผู้ป่วยที่รับประทานยาปฏิชีวนะควรรับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งแพทย์และควรสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้มีอาการแย่ลง นอกจากนี้ ยังมีการรักษาในรูปแบบอื่นตามอาการของผู้ป่วย เช่น การระบายของเหลวออกจากแผล การนำเครื่องมือแพทย์หรืออวัยวะเทียมในร่างกายของผู้ป่วยออก และการผ่าตัดเพื่อทำการรักษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจพบเชื้อ Staphylococcus ที่มีการดื้อยา แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือดเพื่อยืนยันการดื้อยาของเชื้อดังกล่าวและเลือกให้ยาปฏิชีวนะตัวอื่นทดแทน หากเชื้อ Staphylococcus เข้าสู่กระแสเลือดอาจส่งผลให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายส่วนต่าง ๆ และความดันโลหิตของผู้ป่วยอาจต่ำลงจนถึงขั้นเสียชีวิต การป้องกันการติดเชื้อ Staphylococcus ทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นความหมาย เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus)
อาการของโรคติดเชื้อ Staphylococcus
ผิวหนังติดเชื้อ
อาหารเป็นพิษ
ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย (Bacteremia)
กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic Shock Syndrome)
โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ (Septic Arthritis)
สาเหตุของโรคติดเชื้อ Staphylococcus
มีโรคประจำตัว
เข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
การใช้เครื่องมือแพทย์
การเล่นกีฬา
การเตรียมอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ Staphylococcus
การรักษาโรคติดเชื้อ Staphylococcus
ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อ Staphylococcus
การป้องกันโรคติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส