Illness name: tia ภาวะสมองขาดเลือดชั่วค
Description: TIA (Transient Ischemic Attack) หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เกิดจากเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ชั่วขณะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง แต่ต่างกันตรงที่ TIA มักไม่ทำให้สมองเกิดความเสียหายอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนก่อนเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตันได้ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการของภาวะนี้ ผู้ป่วยต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการของ TIA ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้ แม้อาการเหล่านี้มักหายได้เองภายในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง และมักไม่มีอาการรุนแรงเท่ากับโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมักเป็นนานกว่า 24 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการข้างต้น เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงและอันตรายต่อชีวิต TIA เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงสมองในชั่วขณะ ซึ่งส่งผลให้สมองขาดสารอาหารและออกซิเจน โดยการเจ็บป่วยที่มักเป็นปัจจัยทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันจนนำไปสู่ TIA ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคเบาหวาน เป็นต้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อ TIA มีดังนี้ TIA ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เพื่อหาสาเหตุและวางแผนรักษา โดยแพทย์อาจตรวจร่างกายและวินิจฉัยด้วยวิธีต่อไปนี้ การรักษา TIA มุ่งเน้นไปที่การควบคุมสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติร่วมกับป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การรับประทานยา ยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง สาเหตุ ระดับความรุนแรง และรูปแบบของของการเกิด TIA ซึ่งอาจต้องใช้ยาหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดความดันโลหิต ยาลดคอเลสเตอรอลในเลือดกลุ่มสแตติน และยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การผ่าตัดหลอดเลือดแดงแคโรติดอาเทอรี (Carotid Endarterectomy) แพทย์อาจแนะนำผู้ป่วยให้เข้ารับการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงบริเวณคอ เพื่อกำจัดคราบไขมันออกจากหลอดเลือด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดแดงตีบระดับปานกลางจนถึงรุนแรง โดยต้องคำนึงถึงอายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยร่วมกับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นด้วย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary Angioplasty) แพทย์จะสอดท่อทางหลอดเลือดบริเวณขาหนีบ ข้อมือ หรือแขนให้เข้าไปถึงบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตัน จากนั้นจึงใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดแดงที่อุดตันและใส่ขดลวดเพื่อให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายออก ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะพิจารณาใช้ในบางกรณีเท่านั้น TIA อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมองหลังเผชิญภาวะนี้ ได้แก่ นอกจากนี้ TIA ยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจขาดเลือดและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเป็นการป่วยที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองด้วย ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด TIA ซึ่งปฏิบัติได้ ดังนี้ความหมาย ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว