Illness name: rhesus disease
Description: Rhesus Disease เป็นภาวะที่มารดาและทารกมีหมู่เลือด Rh (Rhesus) ไม่ตรงกัน หากหมู่เลือดของมารดาเป็น Rh- (Rh-negative หรือหมู่เลือดอาร์เอชลบ) แต่หมู่เลือดของทารกในครรภ์เป็น Rh+ (Rh-positive หรือหมู่เลือดอาร์เอชบวก) จะส่งผลให้เกิดภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือด (Rh Incompatibility) อาร์เอช (Rh) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง นำมาใช้ในการจำแนกระบบหมู่เลือดอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับจากการถ่ายทอดจากทางพันธุกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ หมู่เลือด Rh+ เป็นหมู่เลือดที่พบในคนส่วนมาก และหมู่เลือด Rh- ที่พบได้น้อยกว่า ภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือดในคนทั่วไปอาจไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากกรณีที่มารดามีหมู่เลือด Rh- ขณะที่ทารกในครรภ์มีหมู่เลือด Rh+ ร่างกายของมารดาจะตอบสนองต่อหมู่เลือด Rh+ ในลักษณะที่เป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย โดยจะสร้างแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานในเลือดขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกและอาจทำให้ทารกเป็นโรคโลหิตจางหรือดีซ่าน ในการตั้งครรภ์ครั้งแรกของมารดาอาจเกิดอันตรายเพียงเล็กน้อยเพราะบุตรที่มีหมู่เลือด Rh+ มักคลอดออกมาก่อนการสร้างแอนติบอดีในร่างกายของมารดา แต่หลังจากนั้นร่างกายมารดาจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อเนื่องตลอดชีวิต ทำให้ในการตั้งครรภ์ครั้งที่สองแอนติบอดีในร่างกายมารดาถูกส่งผ่านไปทางรกและเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือด Rh อาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติในทารกได้ตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระยะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่อาการเหล่านี้จะบรรเทาลงหลังได้รับการรักษาภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือด เมื่อแอนติบอดีในร่างกายมารดาทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของบุตร จะเกิดการสร้างบิลิรูบิน (Bilirubin) ขึ้นมา หากถูกสร้างมามากเกินไปอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงการทำงานของตับที่มีปัญหา โดยทารกที่มีปริมาณบิลิรูบินสูงอาจมีอาการหลังคลอด ดังนี้ สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากมารดามีหมู่เลือดเป็น Rh- แต่ทารกในครรภ์มีหมู่เลือดเป็น Rh+ เมื่อมารดามีอาการไวต่อเลือด Rh+ ทำให้ร่างกายมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและการติดเชื้อของร่างกาย โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อมารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก ร่างกายจะจดจำและคอยทำลายเซลล์เม็ดเลือดแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายหลังจากนั้น อาการไวต่อเลือด Rh+ ของมารดานั้นเป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ด้วยปัจจัยดังนี้ เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีอาการไวต่อเลือด Rh+ เกิดขึ้นและได้รับเลือด Rh+ ร่างกายมารดาจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทันที ดังนั้น หากตั้งครรภ์บุตรที่มีเลือด Rh+ แอนติบอดีจะถูกส่งผ่านมายังรกของมารดา และก่อให้เกิด Rhesus Disease ขึ้นกับทารกในครรภ์ ซึ่งแอนติบอดีจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของเด็กภายในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด ภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือดมักจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อทารกในการตั้งครรภ์ครั้งแรก เนื่องจากทารกจะคลอดออกมาก่อนที่แอนติบอดีในร่างกายมารดาจะถูกสร้างในปริมาณมากเพียงพอ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อทารกหลังจากการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปได้มากกว่า การวินิจฉัย Rhesus Disease สามารถทำได้โดยวิธีการตรวจเลือดเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้ โดยปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจเลือดระหว่างการตั้งครรภ์ การวินิจฉัย Rhesus Disease จึงมักวินิจฉัยได้จากผลการตรวจเลือด โดยคัดกรองความผิดปกติที่อาจเกิดระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคโลหิตจาง โรคหัดเยอรมัน การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงการระบุหมู่เลือดอาร์เอชของมารดาได้ หากพบว่ามีหมู่เลือด Rh- แพทย์อาจทำการตรวจคัดกรองและแยกหาแอนติบอดี้ในเลือด (Antibody Screen) เพิ่มเติม หากตรวจพบแอนติบอดีในเลือด จะถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่เด็กในครรภ์จะได้รับผลกระทบจาก Rhesus Disease ทำให้ทั้งมารดาและบุตรต้องได้รับการเฝ้าติดตามอาการเป็นพิเศษและอาจได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม อย่างโลหิตจางหรือภาวะตัวเหลือง แต่ในกรณีที่ผลตรวจไม่พบแอนติบอดีในเลือด แพทย์จะให้นัดตรวจเลือดอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ และอาจฉีดยาต้านการสร้างแอนติเจน ดี (Anti-D Immunoglobulin) เพื่อช่วยลดการสร้างภูมิต้านทานของมารดาต่อเลือดของทารกในครรภ์ หากผลการตรวจเลือดระบุว่ามารดามีหมู่เลือด Rh- แพทย์อาจให้บิดาได้รับการตรวจเลือดด้วย หากผลออกมาเป็น Rh- เหมือนกัน จะไม่มีโอกาสที่ทารกจะมีหมู่เลือด Rh+ ทำให้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือด แต่ถ้าผลการตรวจเลือดของบิดาระบุว่าเป็น Rh+ หรือไม่สามารถทราบสถานะของหมู่เลือดอาร์เอชได้ แพทย์อาจใช้วิธีการเจาะน้ำคร่ำในมารดา โดยใช้เข็มเจาะลงไปบนผิวหนังและทำการดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณเล็กน้อยจากถุงน้ำคร่ำเพื่อนำมาตรวจสอบหมู่เลือดอาร์เอชของทารก และอาจนำไปใช้ตรวจสอบระดับบิลิรูบินในเลือดได้อีกด้วย หากมีระดับบิลิรูบินสูง ทารกจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงทำลายตนเองก่อนอายุขัย (Hemolytic Anemia) การตรวจเลือดของมารดาระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ทราบหมู่เลือดอาร์เอชจากเด็กในครรภ์ไปด้วย เนื่องจากสามารถระบุดีเอ็นเอของเด็กได้ โดยจะตรวจได้ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 11-12 ของการตั้งครรภ์เนื่องจากให้ได้ผลการตรวจที่แน่ชัด และเป็นระยะเวลาเพียงพอก่อนที่ทารกในครรภ์จะได้รับความเสี่ยงจากแอนติบอดี หากตรวจพบว่าทารกมีหมู่เลือด Rh+ หญิงตั้งครรภ์อาจต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อทำการรักษาได้ทันในกรณีที่อาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น และแพทย์อาจทำการตรวจซ้ำอีกครั้งในช่วงเดือนที่ 6-7 ของการตั้งครรภ์ แต่หากตรวจไม่พบการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีในร่างกาย หญิงตั้งครรภ์อาจต้องเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูว่าบุตรในครรภ์มีหมู่เลือด Rh+ หรือ Rh- กรณีทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิด Rhesus Disease แพทย์อาจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อดูภาวะแทรกซ้อนอย่างโลหิตจางที่อาจเกิดขึ้นกับทารกด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การวินิจฉัย Rhesus Disease ในเด็กแรกเกิดจะใช้การตรวจเลือดผ่านทางสายสะดือเพื่อดูการส่งผ่านของแอนติบอดีในเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดโดยวิธีที่เรียกว่า Coombs Test เพื่อตรวจหาแอนติบอดีที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงภายในเลือด หากผลออกมาเป็นบวกอาจเป็นสัญญาณของภาวะความไม่เข้ากันของหมู่เลือด การรักษา Rhesus Disease ก่อนการคลอด เมื่อแพทย์ทราบถึงระดับแอนติบอดีในร่างกายมารดาจากผลการตรวจร่างกายของมารดา และรวมถึงผลการตรวจทารกในครรภ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้ว มักพบว่าจำนวนกว่าครึ่งมีอาการไม่ร้ายแรงและไม่ต้องรับการรักษามากนัก แต่ยังต้องติดตามอาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังอาการที่อาจรุนแรงขึ้นในภายหลัง อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามารดามีระดับแอนติบอดีสูง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการเร่งคลอด (Induction of Labor) ก่อนที่แอนติบอดีจากแม่จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกในครรภ์และทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ส่วนการรักษา Rhesus Disease หลังการคลอดจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น หากมีอาการขั้นรุนแรงอาจต้องเริ่มการรักษาตั้งแต่ก่อนการคลอด และในกรณีที่ทารกมีอาการแทรกซ้อนหลังการคลอด อย่างภาวะตัวเหลืองหรือโลหิตจาง แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาดังนี้ เป็นการใช้ไฟชนิดพิเศษที่ให้แสงสีฟ้าผ่านหลอดไฟฮาโลเจนหรือฟลูออเรสเซนต์ส่องไปที่ตัวเด็ก โดยแพทย์จะปิดตาเด็กก่อนการส่องไฟ วิธีการนี้จะทำให้ผิวหนังดูดซับแสงไฟทำให้ตับของทารกสามารถขับบิลิรูบินออกได้ง่ายขึ้น ในระหว่างการส่องไฟแพทย์จะให้ของเหลวผ่านทางเส้นเลือด เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำที่อาจเกิดขึ้นกับทารก ซึ่งในบางกรณี วิธีการส่องไฟอาจช่วยลดความจำเป็นในการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้ ในกรณีที่ระดับบิลิรูบินในเลือดมีสูง ทารกจะถูกเปลี่ยนถ่ายเลือดบางส่วนกับผู้ให้เลือดที่มีหมู่เลือดเดียวกันผ่านท่อที่สอดเข้าไปในหลอดเลือด ในบางครั้งอาจเปลี่ยนถ่ายเลือดเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อเพิ่มปริมาณจากที่มีอยู่เดิม วิธีการนี้จะช่วยกำจัดบิลิรูบินที่มีสูงในเลือดของทารก และยังช่วยกำจัดแอนติบอดีที่เป็นสาเหตุของ Rhesus Disease อีกด้วย อย่างไรก็ตาม โรคอาจเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ การเปลี่ยนถ่ายเลือดก่อนการคลอด (Intrauterine Foetal Blood Transfusion) จึงอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แพทย์จะฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าสู่เส้นเลือดดำของทารก ในกรณีที่อัตราบิลิรูบินในเลือดของทารกเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอทุกชั่วโมงอาจใช้วิธีการนี้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีส่องไฟ การฉีดอิมมิโนโกลบูลินเข้าสู่เส้นเลือดจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ระดับของบิลิรูบินในเลือดของทารกจึงไม่เพิ่มขึ้น และช่วยลดความจำเป็นในการเปลี่ยนถ่ายเลือด Rhesus Disease อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งทารกในครรภ์และเด็กแรกเกิด ดังนี้ หากมีอาการของโรคโลหิตจางจาก Rhesus Disease อาจทำให้ทารกในครรภ์หัวใจล้มเหลว ทารกในครรภ์บวมน้ำ (Foetal Hydrops) หรือตายคลอด (Stillbirth) ในกรณีที่ร่างกายของเด็กสร้างบิลิรูบินมากเกินไป หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การสะสมของบิลิรูบินในสมองอาจนำไปสู่อาการทางสมองที่เรียกว่าคอร์นิกเตอรัส (Kernicterus) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ สูญเสียได้ยินหรือการมองเห็น สมองถูกทำลาย และอาจถึงแก่ชีวิตได้ การตรวจเลือดก่อนการตั้งครรภ์หรือในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจจะช่วยป้องกัน Rhesus Disease ได้ หากพบว่ามารดามีหมู่เลือด Rh- แพทย์อาจใช้วิธีการฉีดยาต้านแอนติเจน ดี (Anti-D Immunoglobulin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไวต่อการได้รับเลือด Rh+ โดยยาจะจับกับแอนติเจน Rh+ ที่อาจเข้าสู่เลือดของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้กระบวนการกระตุ้นถูกยับยั้ง เลือดของมารดาจึงไม่ผลิตแอนติบอดีขึ้นมา หากมารดามีหมู่เลือด Rh- และไม่มีอาการไวต่อแอนติเจน ดี แพทย์จะฉีดยาต้านการสร้างแอนติบอดีในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือบางกรณีอาจมีการให้ยาต้านการสร้างแอนติบอดีภายใน 72 ชั่วโมงหลังการคลอด โดยจะเรียกวิธีดังกล่าวว่า Routine Antenatal Anti-D Prophylaxis (RAADP) ซึ่งตัวยาจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือด Rh+ จากบุตรที่อาจถูกส่งข้ามมาสู่ระบบเลือดของมารดาระหว่างการคลอด และลดโอกาสการสร้างแอนติบอดีขึ้นในร่างกาย รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิด Rhesus Disease ในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปความหมาย Rhesus Disease
อาการของ Rhesus Disease
สาเหตุของ Rhesus Disease
การวินิจฉัย Rhesus Disease
การตรวจเลือดของมารดา
การตรวจเลือดของบิดา
การตรวจเลือดของเด็กในครรภ์
การตรวจเลือดของเด็กทารกแรกคลอด
การรักษา Rhesus Disease
การรักษาด้วยการส่องไฟ (Phototheraphy)
การเปลี่ยนถ่ายเลือด (Blood Transfusion)
การฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าสู่เส้นเลือด (Intravenous Immunoglobulin)
ภาวะแทรกซ้อนของ Rhesus Disease
ทารกในครรภ์
เด็กแรกเกิด
การป้องกัน Rhesus Disease