Illness name: ผื่นแดงคล้ายตาข่าย livedo reticularis
Description: Livedo Reticularis คืออาการทางผิวหนังที่มีลักษณะเป็นรอยสีม่วงแดงรูปร่างคล้ายตาข่ายหรือตัวลาย เนื่องมาจากการไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจของเลือดดำลดลงหรือมีปริมาณเลือดดำสะสมมากกว่าปกติ โดยอาจเป็นผลมาจากการขยายตัวหรือการอุดตันในหลอดเลือดดำ และจะยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น โดยทั่วไป Livedo Reticularis มักไม่ส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ และจะค่อย ๆ ดีขึ้นหรือหายได้เอง แต่ในบางกรณี อาการดังกล่าวอาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคหรือภาวะอื่น ดังนั้นหากผู้ที่มีอาการดังกล่าวพบการเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการทางผิวหนังแบบ Livedo Reticularis มักมีเพียงรอยสีม่วงแดงรูปร่างคล้ายตาข่ายบนผิวหนัง ซึ่งไม่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดหรือเกิดอาการอื่น ๆ โดยจะพบได้บ่อยบริเวณขา แต่ก็อาจพบที่บริเวณอื่นได้ อย่างใบหน้า ก้น มือ หรือเท้า และอาการจะยิ่งเห็นได้ชัดหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นซึ่งอาการดังกล่าวมักหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม รอยสีม่วงแดงดังกล่าวอาจเป็นอาการจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นแม้ร่างกายจะอยู่ในสภาวะอุณหภูมิปกติ กำลังป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Vascular Disease) หรือพบการเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีตุ่มขึ้นบริเวณที่เกิดอาการและรู้สึกเจ็บ หรือผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเริ่มเปื่อยมีแผล เป็นต้น รอยสีม่วงแดงบริเวณผิวหนังหรือ Livedo Reticularis เกิดจากการไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจลดลงของเลือดที่มีออกซิเจนต่ำหรือเลือดดำ หรือมีปริมาณเลือดดำสะสมมากกว่าปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดหรือตีบตันของหลอดเลือดดำ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุและอาจเป็นเพียงชั่วคราว มักพบในเด็กทารกและเพศหญิงวัย 20–50 ปี โดยมีปัจจัยอย่างความหนาวเย็น ยาสูบ และความเครียดเป็นตัวกระตุ้น เป็นชนิดที่พบได้ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นโดยกำเนิดหรือเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ในการวินิจฉัย Livedo Reticularis แพทย์จะตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการและสอบถามอาการความผิดปกติอื่น ๆ ของผู้ป่วย ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยมีโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตัดเนื้อเยื่อตัวอย่างไปตรวจ (Biopsy) หรือการตรวจหาความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดที่เกี่ยวข้องกับโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น การรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของ Livedo Reticularis หากเป็นชนิด Primary Livedo Reticularis ที่ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการดังกล่าวอาจค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เอง โดยแพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้อาการแย่ลง อย่างความหนาวเย็น ยาสูบ และความเครียด ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นชนิด Secondary Livedo Reticularis แพทย์จะรักษาจากโรคหรือภาวะที่เป็นต้นเหตุ เช่น ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดอุดตัน แพทย์อาจใช้ยาแอสไพรินในปริมาณต่ำ ยาเพนท็อกซิฟิลลีน (Pentoxifylline) หรือยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เป็นต้น โดยปกติแล้ว Livedo Reticularis เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและไม่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่ผู้ที่มีโรคหรือภาวะต่าง ๆ เป็นสาเหตุอาจพบอาการแทรกซ้อนจากโรคนั้น ๆ ได้ เช่น ผู้ป่วยในกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) อาจเกิดอาการทางหลอดเลือดที่รุนแรงและอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ การป้องกันการเกิด Livedo Reticularis สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่นความหมาย ผื่นแดงคล้ายตาข่าย (Livedo Reticularis)
อาการของ Livedo Reticularis
สาเหตุของ Livedo Reticularis
ชนิด Primary Livedo Reticularis
ชนิด Secondary Livedo Reticularis หรือ Livedo Racemosa
การวินิจฉัย Livedo Reticularis
การรักษา Livedo Reticularis
ภาวะแทรกซ้อนของ Livedo Reticularis
การป้องกัน Livedo Reticularis