Illness name: คอพอก
Description: คอพอก หรือโรคคอพอก (Goiter) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อบริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือเกิดก้อนผิดปกติภายในต่อมไทรอยด์ อาการบ่งชี้ของภาวะคอพอก ได้แก่ บวมบริเวณลำคอใต้คอหอย รู้สึกแน่นในลำคอ ไอ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก หายใจลำบาก เป็นต้น อาการของคอพอก อาการของคอพอกที่เด่นชัด คือ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนทำให้ลำคอบริเวณคอหอยบวม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการบวมเพียงเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ ทว่าในรายที่มีคอพอกขั้นรุนแรง อาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย สาเหตุของคอพอก คอพอกเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลักที่พบ คือ ภาวะขาดไอโอดีน อันเป็นสารสำคัญที่จำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ จนทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กและทารก ยังเสี่ยงก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองอีกด้วย ส่วนปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดโรคคอพอกได้เช่นกัน มีดังนี้ ทั้งนี้ คนบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อโรคคอพอกมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ เพศหญิง หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้ที่เคยเข้ารับการฉายรังสีบริเวณลำคอหรือหน้าอก และผู้ที่กำลังรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาอะมิโอดาโรน ยาลิเทียม เป็นต้น การวินิจฉัยคอพอก ผู้ที่มีอาการของโรคคอพอกหรือสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรคนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย ในขั้นแรกแพทย์จะตรวจดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ด้วยการคลำบริเวณลำคอหรือให้ผู้ป่วยกลืนให้ดู หากพบความผิดปกติอาจตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล ดังนี้ การรักษาคอพอก วิธีรักษาคอพอกนั้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมไทรอยด์ อาการ ความรุนแรงของโรค และภาวะแทรกซ้อนที่พบ หากต่อมไทรอยด์บวมโตไม่มากและยังทำงานได้เป็นปกติ แพทย์อาจนัดติดตามอาการเป็นระยะ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษา ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนของคอพอก ผู้ป่วยโรคคอพอกที่มีต่อมไทรอยด์บวมเพียงเล็กน้อยมักไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายมากนัก ทว่าหากมีอาการบวมมาก อาจทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือกลืนอาหารยากขึ้น ไอ และเสียงแหบ ส่วนผู้ป่วยคอพอกจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์อาจมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด มีปัญหาการนอนหลับ น้ำหนักมากขึ้นหรือลดลงผิดปกติร่วมด้วย การป้องกันคอพอก โรคคอพอกส่วนใหญ่เกิดจากภาวะขาดไอโอดีน โดยปกติคนเราควรได้รับไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งมีปริมาณเท่ากับเกลือเสริมไอโอดีน 1 ช้อนชา ดังนั้น การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีนอย่างอาหารทะเลและอาหารเสริมไอโอดีน โดยเฉพาะเกลือเสริมไอโอดีนที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงอาจช่วยป้องกันโรคนี้ได้ความหมาย คอพอก