Illness name: ลิ้นหัวใจรั่ว
Description: ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ โรคนี้อาจรักษาให้หายได้โดยใช้ยาและการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม รวมทั้งการใส่อุปกรณ์บางชนิดเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ลิ้นหัวใจรั่วอาจแบ่งตามตำแหน่งของลิ้นที่มีการรั่ว ได้แก่ อาการลิ้นหัวใจรั่ว โดยส่วนใหญ่แล้วหากรอยรั่วเกิดขึ้นไม่มากนักก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น แต่หากเริ่มรุนแรงขึ้น ก็อาจมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วลิ้นหัวใจรั่วแสดงอาการให้เห็นดังนี้ ทั้งนี้ อาการลิ้นหัวใจรั่วแต่ชนิดก็ยังมีอาการอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เนื่องจากลิ้นหัวใจแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้ นอกจากนี้ยังอาจพบอาการชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะ ไอ มีปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากหายใจไม่สะดวกและปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากอาการรุนแรงมาก ๆ จะทำให้หัวใจห้องล่างทำงานไม่เต็มที่ และเสี่ยงกับภาวะหัวใจวายได้อีกด้วย โดยอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของหัวใจวายได้แก่ รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ หายใจสั้น และของเหลวคั่งอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อในร่างกายจนทำให้ร่างกายบวม สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจรั่วมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดจากโรคหรือความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ นอกจากนี้ หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดลิ้นหัวใจผิดปกติ อันเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ ซึ่งได้แก่ การวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่ว ผู้ป่วยสามารถสังเกตได้จากอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อาการหายใจสั้น ปวดหน้าอก รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ และมีอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า หากมีอาการเหล่านี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยหลากหลายวิธี ได้แก่ ผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจวินิจฉัยข้างต้นจะช่วยให้แพทย์ระบุความรุนแรงของโรค ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาในขั้นต่อไปได้ การรักษาลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วจากความรุนแรงของโรค โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น และฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ ซึ่งในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้นดังนี้ ขณะที่การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่แพทย์มักใช้ในการควบคุมและรักษาอาการของโรคลิ้นหัวใจมีดังนี้ การใช้ยา หากอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยาที่ใช้ในการรักษาส่วนใหญ่ ได้แก่ นอกจากนี้ผู้ป่วยก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะด้วยเพื่อป้องกันอาการลิ้นหัวใจอักเสบ ซึ่งแพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยก่อนทำทันตกรรม ซึ่งก่อนจะเข้ารับการรักษา เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยจะต้องแจ้งทันตแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว การผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยรุนแรง แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ เพราะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์จะยังคงติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจนกว่าหัวใจจะกลับมาทำงานเป็นปกติโดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI) เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยการสวนท่อเข้าไปในหลอดเลือดเอออร์ต้าเพื่อใส่ลิ้นหัวใจเทียม วิธีนี้จะใช้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการผ่าตัดสูง และมีอาการเกี่ยวกับลิ้นหัวใจที่รุนแรง แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา การสวนหัวใจด้วยสายสวน (Cardiac Catheterization) เป็นการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โดยการสอดสายสวนเข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ เพื่อขยายหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของลิ้นหัวใจรั่ว หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้า หรือการรักษาไม่ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่าง ๆ ได้ เช่น การป้องกันลิ้นหัวใจรั่ว เช่นเดียวกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ลิ้นหัวใจรั่วสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือมีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากมีสัญญาณของลิ้นหัวใจรั่ว อีกทั้งยังควรระมัดระวังความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติหรือสร้างความเสียหายที่ลิ้นหัวใจได้ เช่น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด และหากเข้ารับการทำทันตกรรมควรแจ้งทันตแพทย์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจด้วยก่อนรักษา เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะหลังจากการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ความหมาย ลิ้นหัวใจรั่ว