Illness name: ถุงน้ำในรังไข่
Description: ถุงน้ำในรังไข่ คือ ถุงน้ำหรือซีสต์ที่เกิดขึ้นภายในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือบริเวณรอบ ๆ รังไข่ ส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ก็อาจทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดท้องน้อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น โดยมักเกิดขึ้นเมื่อรังไข่ผลิตไข่ในช่วงที่ผู้หญิงมีรอบเดือน อาการของถุงน้ำในรังไข่ ตามปกติถุงน้ำในรังไข่ไม่ได้ทำให้เกิดการป่วย หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่เป็นอันตราย แต่หากถุงน้ำแตกจะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้นได้ และในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่ ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการป่วยที่รุนแรง ซึ่งมักแสดงถึงภาวะที่ถุงน้ำในรังไข่แตกหรือรังไข่บิดขั้ว ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที เช่น ปวดท้องหรือปวดท้องน้อยรุนแรงอย่างฉับพลัน ปวดท้องร่วมกับมีไข้หรืออาเจียน มีไข้ ผิวแตกลอก หายใจเร็ว หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง เป็นต้น สาเหตุของถุงน้ำในรังไข่ ถุงน้ำในรังไข่มักเกิดจากการตกไข่ในกระบวนการมีรอบเดือน และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตกไข่ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถุงน้ำที่รังไข่ (Follicular Cyst) ช่วงที่ผู้หญิงเกิดรอบเดือน ไข่จะเจริญเติบโตในถุงน้ำที่อยู่ภายในรังไข่ ซึ่งตามปกติถุงน้ำจะแตกออกและปล่อยไข่ออกมา แต่หากถุงน้ำไม่แตกจะส่งผลให้ถุงน้ำนั้นยังคาอยู่ในรังไข่ได้ ถุงน้ำคอร์ปัสลูเทียม (Corpus Luteum Cyst) โดยปกติแล้ว ถุงน้ำมักหดตัวหลังจากที่ปล่อยไข่ออกมา แต่หากถุงน้ำไม่แตกและไม่ละลายหายไป จะเกิดการสะสมของเหลวภายในถุงน้ำจนเกิดถุงน้ำคอร์ปัสลูเทียม ซึ่งถุงน้ำชนิดนี้จะหายไปได้เองและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ ถุงน้ำในรังไข่อาจเกิดขึ้นได้จากปัญหาสุขภาพหรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ การวินิจฉัย ในเบื้องต้นแพทย์อาจวินิจฉัยภาวะถุงน้ำในรังไข่ได้ด้วยการตรวจภายใน โดยใช้เครื่องมือตรวจช่วยขยายช่องคลอดให้กว้างขึ้น เพื่อให้แพทย์คลำหาว่ามีก้อนเนื้อหรือความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก และรังไข่หรือไม่ หากตรวจพบว่าผู้ป่วยมีถุงน้ำในรังไข่ แพทย์จะเฝ้าดูอาการและวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับถุงน้ำชนิดนั้นต่อไป นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การรักษาถุงน้ำในรังไข่ โดยปกติแล้ว ถุงน้ำในรังไข่จะหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา ซึ่งแพทย์อาจตรวจร่างกายซ้ำภายใน 1-3 เดือน เพื่อดูว่าถุงน้ำมีขนาดเล็กลงหรือหายไปหรือไม่ หากถุงน้ำในรังไข่ไม่หายไปเอง แพทย์อาจพิจารณาวิธีรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ยา หากผู้ป่วยมีถุงน้ำเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แพทย์อาจให้ใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมน เพื่อยับยั้งการตกไข่และลดโอกาสการเกิดซ้ำ การผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ เหนือหรือต่ำกว่าสะดือ เพื่อส่องดูภายในอุ้งเชิงกรานและนำถุงน้ำออกมา โดยวิธีนี้จะใช้รักษาถุงน้ำที่มีขนาดเล็กและไม่ใช่เซลล์มะเร็ง การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่และอาจกลายเป็นมะเร็งได้ แพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้ในการรักษา โดยจะผ่าตัดเปิดหน้าท้องและนำถุงน้ำออกมา และหากถุงน้ำนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ด้านมะเร็งนรีวิทยาด้วย ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำในรังไข่ ถุงน้ำในรังไข่ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ และสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ปัญหาถุงน้ำในรังไข่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แม้จะพบได้น้อยมาก เช่น การป้องกันการเกิดถุงน้ำในรังไข่ เนื่องจากยังไม่มีวิธีใดป้องกันการเกิดถุงน้ำในรังไข่ได้ จึงอาจทำได้เพียงป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ โดยแพทย์อาจให้ผู้ที่มีถุงน้ำในรังไข่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ใช้ยาฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการตกไข่ และผู้หญิงควรไปตรวจภายในเป็นประจำ เพื่อให้แพทย์สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและวางแผนรักษาได้อย่างรวดเร็วหากตรวจพบอาการป่วยใด ๆ นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีความกังวลใจหรือสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น มีอาการผิดปกติในระหว่างที่มีรอบเดือน ปวดท้องน้อยอย่างต่อเนื่อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ท้องอืด เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการความหมาย ถุงน้ำในรังไข่