Illness name: หัวใจเต้นเร็ว
Description: หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia) คือ อาการที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ โดยเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อความวิตกกังวล อาการไข้ เสียเลือดกะทันหัน หรือออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังกายมาก นอกจากนั้น อาจเกิดจากโรคหรือความผิดปกติในร่างกาย เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือปอดบวม รวมไปถึงผลข้างเคียงจากอาหาร เครื่องดื่มและยารักษาโรค เช่น ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในผู้ใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจเมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติจะอยู่ที่ 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นเร็วมี 3 ประเภทดังนี้ อาการหัวใจเต้นเร็ว อาการหัวใจเต้นเร็ว โดยทั่วไปมักพบว่ามีอาการต่อไปนี้ เช่น อาการหัวใจเต้นเร็วที่มีสาเหตุจากโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) จะมีอาการเพิ่มเติมแตกต่างกันออกไป เช่น มีอาการทางระบบประสาท นอนไม่หลับ มีอาการสั่น เหงื่อออก หรือภาวะหัวใจเต้นเร็วที่มีสาเหตุมาจากโรคปอดหรือหัวใจ มักจะมีอาการ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจตื้น หรือวิงเวียนศีรษะ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น แต่อาจถูกตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัว มีอาการหัวใจเต้นเร็วร่วมกับอาการหายใจติดขัด หรือเจ็บหน้าอกนานหลายนาที ควรรีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หรือพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดที่รุนแรงได้ สาเหตุของหัวใจเต้นเร็ว ปกติหัวใจจะมีกลุ่มเซลล์หัวใจทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้า เพื่อทำให้ห้องหัวใจปั๊มเลือดทำงานได้ปกติ แต่การเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติเป็นเพราะมีปัจจัยบางอย่างรบกวนการส่งสัญญาณไฟฟ้า โดยปัจจัยที่ไปรบกวนการส่งสัญญาณไฟฟ้า อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว เช่น การวินิจฉัยหัวใจเต้นเร็ว การวินิจฉัยหัวใจเต้นเร็ว แพทย์จะเริ่มจากถามอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมด สอบถามประวัติทางการแพทย์ในอดีตของผู้ป่วยและหาสาเหตุที่มีความเป็นได้ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมไปถึงจับชีพจร ตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจ ฟังปอดหรือตรวจดูสัญญาณความผิดปกติของต่อมไทรอยด์หากสงสัยว่าเกิดภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นต้น แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่อไปนี้ การตรวจหัวใจด้วยการดูภาพ เพื่อตรวจสอบโครงสร้างที่อาจมีความผิดปกติ ซึ่งมีผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิตและนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นเร็ว การวินิจฉัยด้วยการดูภาพมีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยโรคประจำตัวที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วและประเมินภาวะทางหัวใจหากมีข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม การรักษาหัวใจเต้นเร็ว การรักษาหัวใจเต้นเร็ว แพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนไข้ โดยพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกายและการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งแพทย์จะรักษาสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว พร้อมทั้งให้การรักษาเพื่อชะลอไม่ให้หัวใจเต้นเร็วมากเกินไป หรือป้องกันการเกิดหัวใจเต้นเร็วอีกในอนาคต และลดภาวะแทรกซ้อนให้เหลือน้อยที่สุด การรักษาโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นเร็ว แพทย์จะรักษาหัวใจเต้นเร็วผิดปกติตามสาเหตุ โดยรักษาที่ตัวโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายโดยตรง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว เช่น รักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือควบคุมความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ การรักษาด้วยการชะลออัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง การป้องกันการเกิดหัวใจเต้นเร็วในอนาคต การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีโอกาสสูงที่จะเกิดลิ่มเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง โดยแพทย์อาจสั่งยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนั้น ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการลดน้ำหนักและออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นเร็ว ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นเร็วที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การป้องกันหัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากการป้องกันการเกิดหัวใจเต้นเร็วเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นหัวใจเต้นเร็วจากโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังพอมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจเต้นเร็วจากโรคหัวใจให้น้อยลงได้บ้าง ด้วยการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง หรือปฎิบัติตนอย่างเหมาะสมตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งหมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น วิธีดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ทำได้ดังนี้ความหมาย หัวใจเต้นเร็ว
ภาวะหัวใจเต้นเร็วอาจทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจตื้น และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือบางรายอาจมีอาการเฉพาะเวลาออกกำลังกายเท่านั้น