Illness name: sebaceous cyst ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
Description: Sebaceous Cyst หรือ ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นซีสต์หรือถุงน้ำขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนังอย่างช้า ๆ โดยสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย มักไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือกลายไปเป็นมะเร็ง ยกเว้นเกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบมีขนาดใหญ่ หรือซีสต์ชนิดนี้ขึ้นในบริเวณที่อาจเกิดการเสียดสีบ่อย ๆ เช่น ตามลำคอ หรือบนใบหน้า ผู้ป่วยจะมีก้อนหรือตุ่มนูนขนาดเล็กบริเวณผิวหนัง ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตร โดยมีรูปทรงคล้ายโดม ผิวเรียบ ภายในมีสารสีขาวคล้ายชีสต์หรือไขมัน ก้อนซีสต์มีความนิ่ม สามารถจับเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย พบได้บ่อยตามใบหน้า คอ หลังช่วงบน หน้าอก และหนังศีรษะ โดยทั่วไป ก้อนซีสต์ขนาดเล็กมักไม่ค่อยก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวหรือมีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะซีสต์ที่เกิดบริเวณใบหน้าหรือลำคอ อย่างไรก็ตาม ซีสต์ในลักษณะนี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่อาจเสี่ยงเกิดความผิดปกติหรือกลายเป็นมะเร็งได้ โดยผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดหากสังเกตพบอาการดังต่อไปนี้ โดยทั่วไปแล้ว ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะทำหน้าที่หลั่งสารประเภทน้ำมันหรือซีบัม (Sebum) ออกมาตามรูขุมขนเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังและเส้นผม เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของต่อมไขมันหรือท่อต่อมไขมันอุดตันหรือได้รับความเสียหาย สารดังกล่าวจะไม่สามารถหลั่งออกไปสู่ผิวชั้นนอกได้ตามปกติและเกิดการสะสมตกค้างอยู่ในรูขุมขนจนกลายเป็นก้อนซีสต์ใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ Sebaceous Cyst อาจเกิดจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกอยู่ผิดที่ โดยไปอยู่ในผิวชั้นหนังแท้แล้วผลิตสารเคอราตินสะสมจนเกิดซีสต์ขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนถึงเริ่มสังเกตเห็นก้อนซีสต์ได้ โดยการอุดตันของต่อมไขมันใต้ผิวหนังจนทำให้เกิด Sebaceous Cyst อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น แพทย์สามารถวินิจฉัย Sebaceous Cyst ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ Sebaceous Cyst ไม่มีอันตรายและอาจสลายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ยกเว้นหากเกิดการติดเชื้อ มีอาการอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือต้องการกำจัดออกเพื่อเหตุผลทางความงาม ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม วิธีการรักษา Sebaceous Cyst แบ่งออกได้เป็น การดูแลอาการด้วยตนเอง อาจใช้ผ้าอุ่นประคบที่ก้อนซีสต์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการบวมให้ยุบลง และไม่ควรแกะ เกา หรือบีบบริเวณที่เป็นซีสต์ เพราะอาจเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ การใช้ยา แพทย์จะพิจารณาใช้ยาตามอาการของผู้ป่วย โดยยาที่ใช้มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ การผ่าตัด เป็นการกำจัดก้อนซีสต์ออกอย่างถาวร แต่อาจมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นตามมา หรืออาจเกิดซีสต์ขึ้นมาใหม่หากผ่าตัดออกไปไม่หมด โดยเฉพาะซีสต์ที่เป็นก้อนนิ่มและมีขนาดใหญ่ หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรดูแลรักษาความสะอาดแผล เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ วิธีการผ่าตัดแบ่งออกได้หลายแบบ ดังนี้ ส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนของ Sebaceous Cyst อาจเป็นการติดเชื้อจากการอักเสบหรือถุงซีสต์แตก ซึ่งผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ทันที และแม้หลังจากเจาะเอาของเหลวในซีสต์ออกหรือผ่าตัดซีสต์ออกไปแล้วจะแทบไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้น แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจเกิดซีสต์ขึ้นมาใหม่ได้หลังการผ่าตัด แม้การป้องกัน Sebaceous Cyst อาจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีหลายสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการอุดตันในต่อมไขมันใต้ผิวหนัง แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการรักษาความสะอาดของผิวหนัง และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจ้า ส่วนผู้ที่มีสิวหรือมีปัญหาทางผิวหนังประเภทอื่น ๆ ควรรักษาให้หายขาด ไม่ปล่อยให้อาการลุกลาม เพื่อลดโอกาสในการเกิดซีสต์ประเภทนี้ความหมาย ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst)
อาการของซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
สาเหตุของซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
การวินิจฉัยซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
การรักษาซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
ภาวะแทรกซ้อนของซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
การป้องกันซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง