Illness name: hay fever ไข้ละอองฟาง
Description: Hay Fever หรือ ไข้ละอองฟาง เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อละอองเกสรหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น น้ำหอม เชื้อรา ขนสัตว์ เป็นต้น โดยโรคนี้สามารถรักษาด้วยการหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ และการรับประทานยาแก้แพ้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อเผชิญกับสารกระตุ้น ผู้ป่วย Hay Fever อาจมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการดังกล่าวเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ต่างจากอาการหวัดทั่วไปที่มักหายดีภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ อาการของ Hay Fever มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่จมูก โดยสิ่งที่มักเป็นสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ละอองเกสร เชื้อโรค เชื้อรา ขนสัตว์ ฝุ่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ขึ้นเพื่อป้องกันสารดังกล่าว และสารแอนติบอดี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารฮิสตามีนขึ้นมาจนเกิดอาการในที่สุด นอกจากนี้ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด Hay Fever ได้ โดยมีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีพ่อแม่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้จะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถระบุได้เองว่าตนป่วยเป็น Hay Fever ดังนั้น หากมีอาการแพ้ต่าง ๆ เกิดขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามอาการ ตรวจประวัติสุขภาพ รวมทั้งตรวจร่างกาย จากนั้น หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ ในเบื้องต้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ให้มากที่สุด ซึ่งอาจแตกต่างไปตามสถานการณ์และบุคคล แต่โดยทั่วไปอาจทำได้ ดังนี้ หากมีอาการแพ้ไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการของ Hay Fever ได้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาด้วย เพื่อเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็กที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยยาที่มักใช้รักษาอาการจาก Hay Fever มีดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้อาการแพ้ลดลงได้ เช่น อาการของ Hay Fever ที่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน เช่น หูอื้อ ได้กลิ่นน้อยลง เจ็บคอ ปวดศีรษะ เกิดรอยคล้ำใต้ตา ตาบวม อ่อนเพลีย เป็นต้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับได้ หรืออาจทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการแย่ลง นอกจากนี้ ยังเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อในหูและการอักเสบของไซนัสตามมาได้ ดังนั้น หากมีอาการของโรคนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม Hay Fever เป็นโรคที่ป้องกันได้ยากเนื่องจากอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม จึงทำได้เพียงหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ โดยควรหมั่นทำความสะอาดบ้านและบริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ แต่หากผู้ป่วยมีอาการแพ้รุนแรงก็ไม่ควรทำความสะอาดเอง รวมถึงควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีหากมีอาการบ่งชี้โรคความหมาย ไข้ละอองฟาง (Hay Fever)
อาการของไข้ละอองฟาง
สาเหตุของไข้ละอองฟาง
การวินิจฉัยไข้ละอองฟาง
การรักษาไข้ละอองฟาง
ภาวะแทรกซ้อนของไข้ละอองฟาง
การป้องกันไข้ละอองฟาง