Illness name: ปวดข้อ
Description: ปวดข้อ (Joint Pain) คืออาการเจ็บ ปวด หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ตามร่างกาย มักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเป็นผลจากโรคที่ผู้ป่วยมีอาการอยู่ก่อนแล้วอย่างโรคข้ออักเสบ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อต่อและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทำได้ลำบากขึ้น อาการปวดข้อเป็นอาการที่พบได้บ่อย หากอาการไม่ร้ายแรงอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยอาการปวดข้อที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันมักดีขึ้นเองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่กรณีที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง อาการอาจคงอยู่นานหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน การรักษาจึงมีทั้งการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด หรือการรักษาอื่น ๆ ตามอาการที่เกิดขึ้น อาการปวดข้อจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุและบริเวณที่เกิดอาการ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณข้อที่มีอาการ โดยเฉพาะเวลาขยับหรือเคลื่อนไหวข้อต่อส่วนนั้นจะยิ่งปวดมากขึ้น แม้ว่าอาการปวดข้ออาจไม่ร้ายแรงและหายไปได้เอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา นอกจากนี้ หากเคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรง มีอาการข้อต่อบวมขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดการผิดรูป ปวดข้ออย่างรุนแรงหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที ข้อต่อเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ หากข้อต่อได้รับบาดเจ็บหรือได้รับความเสียหายจะรบกวนการเคลื่อนไหวและอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ โดยบริเวณที่พบอาการปวดข้อมากที่สุดคือบริเวณเข่า ตามด้วยไหล่และสะโพก แต่อาการปวดข้ออาจสามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างข้อมือหรือข้อเท้าได้เช่นกัน เมื่อยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดอาการปวดข้อได้มากขึ้น อาการปวดข้อเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ เช่น แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้ จากนั้นอาจมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่อไปนี้ การรักษาอาการปวดข้ออาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ อาการและความรุนแรง หากแพทย์วินิจฉัยว่าอาการปวดข้อเกิดจากโรคข้ออักเสบ ทั้งภาวะข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่เป็นภาวะเรื้อรังนั้นยังไม่มีวิธีการใดที่จะรักษาอาการปวดข้อให้หายขาดได้หรือมีโอกาสที่จะกลับมาเกิดขึ้นซ้ำได้อีก การรักษาจึงจะเน้นไปที่การป้องกันบรรเทาอาการปวดและรักษาไม่ให้อาการแย่ลง แต่หากมีการอาการรุนแรงหรืออาการปวดกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อต่อ ผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกและไม่รุนแรงสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน ดังนี้ นอกเหนือจากการดูแลตนเอง อาการปวดข้ออาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา เช่น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อ ช่วยฟื้นฟูให้ข้อต่อแข็งแรงและเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น ซึ่งนักกายภาพบำบัดอาจใช้วิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ การประคบร้อนหรือประคบเย็น การกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างกลูโคซามีนและคอนดรอยติน (Glucosamine and Chondroitin) มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดและฟื้นฟูการทำงานของข้อต่อ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเสริมเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลที่เพียงพอที่จะรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาว จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา เนื่องจากอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงระบุภาวะแทรกซ้อนที่แน่ชัดได้ยาก โดยทั่วไป ความเสียหายของข้อต่อมักเกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการอักเสบภายในข้อจากสาเหตุต่าง ๆ จึงอาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรังหรืออักเสบรุนแรงจากภาวะต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบ เก๊าท์ เอ็นหรือถุงน้ำบริเวณข้อต่ออักเสบ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงหลังจากการดูแลตนเองที่บ้าน ควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษา ซึ่งอาจช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพดีขึ้น อาการปวดข้อนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ จึงอาจไม่มีวิธีป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง แต่สามารถลดโอกาสในการเกิดอาการปวดข้อได้ด้วยการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เช่นความหมาย ปวดข้อ
อาการปวดข้อ
สาเหตุของอาการปวดข้อ
การวินิจฉัยอาการปวดข้อ
การรักษาอาการปวดข้อ
การดูแลตนเองที่บ้าน
การรักษาโดยการใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีการอื่น
ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดข้อ
การป้องกันอาการปวดข้อ