Illness name: Paresthesia ภาวะพาเรสทีเชีย
Description: Paresthesia (ภาวะพาเรสทีเชีย) คือ ความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่ม รู้สึกคัน เสียว หรือแสบร้อน เกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณมือ แขน ขา และเท้า โดยอาจเกิดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไม่ได้ตั้งใจอย่างการนอนทับแขนหรือนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปได้เองโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเรื้อรังก็ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีสาเหตุมาจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยบางชนิดได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีอาการที่พบได้บ่อย เช่น รู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่มแทงผิวหนัง แสบร้อน รู้สึกเหมือนไฟช็อต เคลื่อนไหวบริเวณที่มีอาการลำบาก รู้สึกเหมือนมีบางอย่างอยู่ใต้ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่นาทีเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนท่าทาง อย่างการยืนขึ้นหลังจากนั่งมาเป็นเวลานาน หรือตื่นขึ้นมาจากการนอนทับแขน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นภาวะเจ็บป่วยที่ควรได้รับการรักษา หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเส้นประสาทกำลังได้รับความเสียหาย อาการ Paresthesia ที่เกิดขึ้นชั่วคราวมักมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทถูกกดทับในช่วงเวลาสั้น ๆ จนไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและมีอาการดังกล่าวตามมา ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในท่าทางใดนาน ๆ เช่น นอนหลับทับมือหรือแขน นั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน เป็นต้น ทั้งนี้ หากอาการต่าง ๆ ไม่หายไป หรือเกิดอาการแบบเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติหรือความเสียหายของเส้นประสาทได้ โดยอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ การเจ็บป่วย สาเหตุอื่น ๆ การวินิจฉัยอาการ Paresthesia อาจมีขั้นตอนดังนี้ การรักษาอาการ Paresthesia จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นต้นเหตุ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยแต่ละรายปฏิบัติตามแนวทางต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดแปลบ เสียว หรือรับรู้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บโดยไม่รู้สึกตัวเมื่อสัมผัสกับวัตถุอันตรายบางอย่าง เช่น วัตถุที่มีความร้อน วัตถุแหลมคม เป็นต้น ดังนั้น ในระหว่างที่มีอาการ ผู้ป่วยจึงควรระมัดระวังตนมากเป็นพิเศษ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ Paresthesia แบบเรื้อรัง หรือกลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น หากมีอาการอย่างเรื้อรังหรือรุนแรงจึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม เพราะอาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากภาวะเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายได้ อาการ Paresthesia ไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย ภาวะพาเรสทีเชีย (Paresthesia)
อาการของภาวะพาเรสทีเชีย
สาเหตุของภาวะพาเรสทีเชีย
การวินิจฉัยภาวะพาเรสทีเชีย
การรักษาภาวะพาเรสทีเชีย
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะพาเรสทีเชีย
การป้องกันภาวะพาเรสทีเชีย