Illness name: atherosclerosis โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
Description: Atherosclerosis หรือ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นโรคที่หลอดเลือดแดงอักเสบจนทำให้หลอดเลือดแดงแข็งหรือตีบตัน ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงไม่เพียงพอ เป็นโรคที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากไขมันหรือแคลเซียมที่ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ ในหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหลายปัจจัย เช่น มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สูบบุหรี่ รวมถึงดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากกว่าวัยอื่น ๆ ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่พบอาการใด ๆ แต่เมื่อไขมันก่อตัวขึ้นจนหลอดเลือดแดงแข็งและไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ได้ จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่มีหลอดเลือดแดงแข็ง ดังต่อไปนี้ หากพบอาการที่บ่งบอกว่าเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เช่น เจ็บหน้าอก รู้สึกปวดหรือมีอาการชาที่ขา รวมถึงอาการอื่น ๆ ข้างต้น หรือสงสัยในอาการป่วยของตนเอง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากวินิจฉัยและรักษาโรคได้เร็วก็อาจช่วยลดความรุนแรงของโรค ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Atherosclerosis แต่โรคนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อผนังด้านในของหลอดเลือดแดงได้รับความเสียหายจนทำให้เซลล์เม็ดเลือดหรือสารอื่น ๆ เช่น ไขมัน หรือแคลเซียม ก่อตัวขึ้นและทำให้หลอดเลือดแดงตีบ แข็ง หรืออุดตัน ทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมถึงอวัยวะบริเวณใกล้เคียงไม่เพียงพอ และส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรค Atherosclerosis ได้แก่ แพทย์จะวินิจฉัย Atherosclerosis จากประวัติอาการป่วยและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย และตรวจหาอาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าหลอดเลือดแข็งหรือตีบตัน เช่น ชีพจรบริเวณหลอดเลือดที่มีปัญหาเต้นอ่อนกว่าปกติ ความดันโลหิตที่แขนและขาลดต่ำลง หรือใช้หูฟังของแพทย์ตรวจแล้วได้ยินเสียงฟู่ภายในหลอดเลือดแดง โดยแพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ การรักษาโรคนี้มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการของโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดไขมันในหลอดเลือดแดง ขยายหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบจากไขมัน และป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจาก Atherosclerosis ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้ การใช้ยา การผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ การดูแลตนเอง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองมากขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนจะแตกต่างกันออกไปตามอวัยวะที่มีหลอดเลือดแดงแข็ง ดังต่อไปนี้ นอกจากนี้ โรค Atherosclerosis ยังอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดโป่งพองที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ทั้งบริเวณสมอง หลอดเลือดใหญ่ ขา หรือม้าม ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันอาจช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรค Atherosclerosis ได้ โดยอาจปฏิบัติตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ ความหมาย โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
อาการของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
การรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
การป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง