Illness name: ภาวะนอนมากเกินไป hypersomnia
Description: Hypersomnia หรือภาวะนอนมากเกินไป เป็นความผิดปกติด้านการนอนแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน ไม่รู้สึกตื่นตัว ไม่กระฉับกระเฉง หรืออาจรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวันแม้จะนอนมากแล้วในตอนกลางคืน Hypersomnia เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ (Sleep Disorders) การใช้ยา หรือรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการมีภาวะ Hypersomnia แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจเรื้อรังจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ผู้ที่ป่วยด้วยภาวะ Hypersomnia จะรู้สึกง่วงนอนมากในระหว่างวัน แม้จะได้งีบหลับตลอดวันก็ยังรู้สึกเพลียอย่างต่อเนื่อง หลังการงีบหลับมักจะตื่นยากหรือตื่นยากในตอนเช้า โดยอาจจะหลับนานติดต่อกันเกิน 10 ชั่วโมงแต่ยังคงรู้สึกง่วงอยู่ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรี่ยวแรงลดลง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล หรือไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ พูดช้า คิดช้าผิดปกติ หรือเห็นภาพหลอน ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของ Hypersomnia ที่แน่ชัด แต่คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากความผิดปกติด้านการนอนหลับ เช่น โรคนอนไม่หลับ ภาวะการนอนละเมอ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคลมหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างที่อาจเชื่อมโยงกับการนอนหลับ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอในเวลากลางคืน การทำงานเป็นกะ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการนอนหลับ การใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการนอนหลับ การใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ Hypersomnia อาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ มีภาวะมีวิตกกังวล โรคไบโพลาร์ หรือซึมเศร้าได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น อาการเจ็ตแล็ก การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยภาวะ Hypersomnia ที่ไม่ทราบสาเหตุ ในการวินิจฉัย Hypersomnia แพทย์จะต้องสอบถามประวัติทางการแพทย์ ประวัติการใช้ยา อาการที่เกิดขึ้น รูปแบบการนอนหลับหรือระยะเวลาการนอนในแต่ละคืน ประกอบกับวิธีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น วิธีการรักษาและบรรเทาอาการของ Hypersomnia ขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ดังนี้ ผู้ที่มีภาวะ Hypersomnia ควรปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะต่อการนอนหลับ เลือกหมอนและที่นอนที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย จัดตารางการนอนให้เป็นเวลา นอนบนเตียงเมื่อรู้สึกง่วงเท่านั้น ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังควรผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอนเพื่อป้องกันภาวะวิตกกังวลเมื่อเข้าสู่เวลากลางคืน หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนก่อนนอน งดการสูบบุหรี่ และอาจพักงีบหลับในระหว่างวันเพื่อให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น เช่น ยาอาร์โมดาฟินิล (Armodafinil) ยาโซลริแอมฟิทอล (Solriamfetol) ยาพิโทลิแซนท์ (Pitolisant) หรือยาโมดาฟินิล (Modafinil) หรืออาจใช้ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น (Psychostimulant) เพื่อบรรทาอาการ เช่น ยาเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) หรือยาแอมเฟตามีน (Amphetamine) ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาดังกล่าว แพทย์อาจใช้ยาโซเดียมออกซิเบต (Sodium Oxybate) ยาคลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) หรือยาฟลูมาซีนิล (Flumazenil) เพื่อรักษาอาการของภาวะ Hypersomnia แทน อาการของภาวะ Hypersomnia อาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ จนอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือการขับขี่ยานพานหนะด้วยเช่นกัน Hypersomnia เป็นภาวะที่ยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้ด้วยการเข้านอนเป็นเวลา จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้มืด สงบ เย็น และผ่อนคลายเพื่อให้เหมาะต่อการนอนหลับ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนการเข้านอน หลีกเลี่ยงการทำงานในตอนกลางคืน และปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญหากมีอาการคล้ายกับภาวะ Hypersomnia หรือมีปัญหาในการนอน เพื่อให้สามารถรับมือและบรรเทาอาการได้อย่างเหมาะสมความหมาย ภาวะนอนมากเกินไป (Hypersomnia)
อาการของ Hypersomnia
สาเหตุของ Hypersomnia
การวินิจฉัย Hypersomnia
การรักษา Hypersomnia
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
การใช้ยา
ภาวะแทรกซ้อนของ Hypersomnia
การป้องกัน Hypersomnia