Illness name: เบาหวานชนิดที่ 2
Description: เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลิน (Insulin) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ร่างกายจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบได้ในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานในเด็กเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการรับประทานยาหรือการฉีดอินซูลินจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือไม่มีอาการใด ๆ ในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรค และอาจใช้ระยะเวลาหลายปีถึงทราบจากอาการที่สังเกตได้ โดยอาการที่อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานมีดังนี้ หากพบอาการเหล่านี้ หรือรู้สึกชาบริเวณปลายมือและปลายเท้า ตาพร่ามัว เกิดแผลง่ายและติดเชื้อได้ง่าย ผิวหนังบริเวณข้อพับหรือรอยพับของผิวหนังมีสีคล้ำขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้และลำคอ อาจเป็นสัญญาณของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ และเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่รับประทานให้เป็นพลังงานในร่างกาย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การดึงน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเป็นพลังงานลดลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมสูงขึ้น โดยในระยะแรก ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินอาจถูกทำลายจนไม่สามารถผลิตอินซูลินตามความต้องการของร่างกายได้อีก ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังนี้ นอกจากนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดขึ้นจากอาหารที่รับประทาน เชื้อชาติ ปัญหาสุขภาพ อย่างความผิดปกติของระบบเผาผลาญและความดันโลหิตสูงและไตรกลีเซอร์ไรด์สูง โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะฮอร์โมนผิดปกติ อย่างโรคไทรอยด์และกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) รวมถึงความเสียหายของเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลิน หากเริ่มมีอาการผิดปกติแม้จะไม่มีอาการภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน แต่ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยแพทย์อาจสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว แล้วตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ ผู้ป่วยจะต้องงดการรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงกลางคืนเป็นเวลา 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจในตอนเช้า โดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากอยู่ระหว่าง 100–125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และเมื่อสูงกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน เป็นการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดช่วง 2–3 เดือนก่อนการเข้ารับการตรวจ โดยค่าปกติจะมีระดับต่ำกว่า 5.7 เปอร์เซ็นต์ หากมีค่าน้ำตาลอยู่ในช่วง 5.7-6.4 เปอร์เซ็นต์ จะจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และหากมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นการเจาะเลือดโดยไม่ต้องงดอาหาร หากค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย หรืออาการอื่นที่เป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน แสดงว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน เป็นวิธีที่มักใช้ตรวจขณะตั้งครรภ์หรือใช้ในงานวิจัย โดยอาจมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น แบ่งเป็นก่อนการดื่มน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคสละลาย หลังการดื่ม 1 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง เพื่อวินิจฉัยการจัดการร่างกายเมื่อได้รับน้ำตาล เป็นต้น สำหรับเกณฑ์การวัดประเมินค่าจะแตกต่างกัน โดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของประเทศไทยมักใช้เกณฑ์ของ Carpenter และ Coustan และเกณฑ์ของ International Diabetes Federation (IDF) เช่น ตามเกณฑ์ IDF หากมีค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 92, 180, และ 153 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตั้งแต่ 1 ค่าขึ้นไปจะถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และสำหรับกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ หากมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยแนะนำให้บุคคลต่อไปนี้เข้ารับการตรวจโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดที่ 2 อาจใช้หลายวิธีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยอาจใช้การปรับพฤติกรรม การใช้ยา การใช้อินซูลิน และการผ่าตัดในบางกรณี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เช่น การใช้ยารักษาโรคเบาหวานจะใช้ในกรณีที่ปรับพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยยาที่นำมาใช้จะขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดและปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์อาจใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งจ่ายยาชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาลดคอเลสเตอรอล หรือยาแอสไพรินขนาดต่ำเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 35 แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วน (Bariatric Surgery) แต่อาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้อวัยวะภายใน อย่างหัวใจ หลอดเลือด เส้นประสาท ดวงตา หรือไตถูกทำลาย โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคเบาหวานมีดังนี้ การปรับพฤติกรรมเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 แม้คนในครอบครัวจะมีประวัติของโรคเบาหวานมาก่อน สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยอาจใช้วิธีต่อไปนี้ความหมาย เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes)
อาการของเบาหวานชนิดที่ 2
สาเหตุของเบาหวานชนิดที่ 2
การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting Blood Glucose)
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (Glycohemoglobin A1c หรือ Glycosylated Hemoglobin Test)
การตรวจระดับน้ำตาลแบบสุ่มตรวจ (Random Blood Sugar)
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test)
การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2
การปรับพฤติกรรม
การใช้ยา
ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานชนิดที่ 2
การป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2