Illness name: มดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำ
Description: มดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) หรือมดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) คือภาวะที่มดลูกหย่อนหรือเลื่อนหลุดลงต่ำมาอยู่ที่ช่องคลอด โดยปกติ มดลูกซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์กลับด้าน มีกล้ามเนื้อที่ห้อยอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวหน่าวทำหน้าที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ มีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดมดลูกให้อยู่ในอุ้งเชิงกราน หากเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย จะส่งผลให้มดลูกหย่อนลงไปที่ช่องคลอด ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนมักมีอวัยวะอื่นภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนลงมาด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ โดยภาวะมดลูกหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้ นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพบางอย่างก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะมดลูกหย่อน โดยทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกอ่อนแอไม่แข็งแรง ได้แก่ ปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อน ปัญหาลำไส้ส่วนบนหรือลำไส้เล็กหย่อน และปัญหาลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ อาการของมดลูกหย่อน ภาวะมดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดมดลูกหย่อนเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ส่วนผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก อาจมีอาการ ดังนี้ หากอาการดังกล่าวไม่ทุเลาและแย่ลงเรื่อย ๆ ปัสสาวะและขับถ่ายลำบาก หรือมดลูกหย่อนออกมาทั้งหมด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ผู้ที่ประสบภาวะมดลูกหย่อนและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ในระยะยาวได้ สาเหตุของมดลูกหย่อน ภาวะมดลูกหย่อนเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่รองรับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานนั้นเสื่อมสภาพลง โดยปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ประกอบด้วย นอกจากนี้ อาการข้อเคลื่อนหลุดง่าย กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan Syndrome) ซึ่งส่งผลต่อหลอดเลือด ดวงตา และกระดูก และโรคหนังยืดผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในร่างกายเสื่อมสภาพลง นำไปสู่ภาวะมดลูกหย่อนได้ การวินิจฉัยมดลูกหย่อน ผู้ที่มีอาการมดลูกหย่อน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยภาวะดังกล่าว แพทย์จะพิจารณาประวัติการรักษาของผู้ป่วยและตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน โดยการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะมดลูกหย่อนนั้น มีดังนี้ การรักษามดลูกหย่อน ภาวะมดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในกรณีที่ภาวะดังกล่าวไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรือไม่รุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ภาวะมดลูกหย่อนรุนแรงขึ้น วิธีรักษาและดูแลอาการมดลูกหย่อนนั้นทำได้ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากมดลูกหย่อน ผู้ป่วยมดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้ การป้องกันมดลูกหย่อน ภาวะมดลูกหย่อนอาจป้องกันไม่ได้ในบางกรณี อย่างไรก็ดี ผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะดังกล่าวอาจลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติ ดังนี้ความหมาย มดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำ