Illness name: moyamoya disease
Description: Moyamoya Disease หรือโรคโมยาโมยา คือความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง เนื่องจากหลอดเลือดหลักที่นำเลือดไปสู่สมองเกิดอุดตันหรือตีบแคบลง ทำให้เกิดหลอดเลือดขนาดเล็กขึ้นมาลำเลียงเลือดไปสู่สมองทดแทน แต่หลอดเลือดเหล่านี้ไม่สามารถลำเลียงเลือดและออกซิเจนได้เพียงพอ จึงส่งผลให้สมองเกิดความเสียหายทั้งแบบชั่วคราวและถาวร โรคโมยาโมยาเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว มีเลือดออกในสมอง และสมองไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ส่วนใหญ่จะพบมากในผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ช่วงอายุ 30-50 ปี ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น การจ่ายยา การผ่าตัด หรือการบำบัดต่าง ๆ เป็นต้น Moyamoya Disease ในเด็กจะมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวกำเริบ ขณะที่ผู้ใหญ่มักจะมีอาการของภาวะหลอดเลือดสมองแตกเนื่องจากเลือดออกในสมอง โดยอาการที่ไม่รุนแรงอาจจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ และสามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 วัน แต่ในกรณีที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีภาวะสมองตายเนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอได้เช่นกัน โดยความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือดในสมองอาจส่งผลให้มีอาการอื่น ดังนี้ นอกจากนี้ อาการต่าง ๆ ในข้างต้นอาจเกิดได้ง่ายเมื่อผู้ป่วยถูกกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อม เช่น การออกกำลังกาย การร้องไห้ การใช้แรง การไอ ความเครียด หรือมีไข้ เป็นต้น หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวมีอาการคล้ายกับภาวะสมองขาดเลือดจึงควรไปพบแพทย์ พร้อมทั้งเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดขณะนำส่งโรงพยาบาล การเกิด Moyamoya Disease ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่มักพบผู้ป่วยในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ขณะที่โรคนี้พบได้น้อยในประเทศไทย ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มมากขึ้นหากบุคคลนั้นมีเชื้อสายเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 15 ปี รวมทั้งมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติทางการแพทย์เป็นโรคโมยาโมยา ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงมากกว่าคนปกติถึง 30-40 เท่า นอกจากนี้ Moyamoya Disease อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ ได้ เช่น ดาวน์ซินโดรม โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease) โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 และโรคไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น แพทย์จะเริ่มด้วยการสอบถามอาการ ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัว หลังจากนั้นจะตรวจร่างกาย และอาจทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ดังนี้ แพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยจะประเมินอาการและเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อลดความรุนแรงของอาการ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้ เป็นการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงการอุดตันของหลอดเลือดในสมองและช่วยควบคุมอาการชัก เช่น การใช้ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยาแอสไพรินหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการหรือไม่มีอาการอยู่ในระดับที่รุนแรง การใช้ยา Calcium Channel Blockers หรือยากันชักอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวตลอดจนลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ได้ การรักษานี้จะใช้ในกรณีที่อาการมีความรุนแรงมากขึ้น รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือตรวจพบว่ามีการไหลเวียนเลือดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แพทย์จะทำการผ่าตัดแบบบายพาสเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดด้วยเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาจเป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดภายนอกเข้าไปในหลอดเลือดสมองเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองได้เพิ่มมากขึ้น หากแพทย์ตรวจพบว่าหลอดเลือดของผู้ป่วยโป่งพองผิดปกติหรือแตกไปแล้ว ก็อาจทำการเลือดวิธีผ่าตัดอื่น ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความรุนแรงในอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการกายภาพบำบัด การบำบัดการพูด หรือการทำจิตบำบัด เพื่อให้รับมือกับความกลัวและความไม่แน่นอนของโรคที่อาจเกิดซ้ำในอนาคต ผู้ป่วย Moyamoya Disease จะมีอาการของโรคเส้นเลือดในสมองเนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของเส้นเลือดในสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น การมองเห็นผิดปกติ มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก ชัก มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว มีปัญหาด้านการเรียนรู้ มีปัญหาในการพัฒนาจิตใจหรืออารมณ์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้หากเกิดในเด็กอาจส่งผลต่อการเรียนรู้และความไม่มั่นใจในตนเอง หากเป็นผู้ใหญอาจประสบกับภาวะสมองเสื่อมได้ Moyamoya Disease เป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีป้องกัน เนื่องจากไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด มองไม่เห็นชั่วขณะ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมอง ให้รีบส่งห้องฉุกเฉินโดยด่วน นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาการที่มีประโยชน์ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจช่วยให้สมองสามารถทำงานได้อย่างปกติความหมาย Moyamoya Disease
อาการ Moyamoya Disease
สาเหตุ Moyamoya Disease
การวินิจฉัย Moyamoya Disease
การรักษา Moyamoya Disease
การใช้ยา
การผ่าตัดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด (Revascularization Surgery)
การบำบัดอื่น
ภาวะแทรกซ้อนของ Moyamoya Disease
การป้องกัน Moyamoya Disease