Illness name: มะเร็งมดลูก
Description: มะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) คือ โรคมะเร็งที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิงซึ่งพบได้มากที่สุด โดยเซลล์ภายในมดลูกเกิดเนื้อร้าย (Malignant Tumor) ขึ้นมา แล้วแพร่กระจาย โตขึ้น และทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง อีกทั้งยังลามไปตามส่วนอื่นของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว มดลูกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นกล้ามเนื้อมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ภายในเป็นโพรง สำหรับให้ตัวอ่อนเจริญขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ ผนังมดลูกเรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อกับต่อมต่าง ๆ มดลูกส่วนล่างคือปากมดลูกซึ่งเชื่อมกับช่องคลอด หากเซลล์ภายในมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เจริญตามปกติ อาจทำให้เกิดเนื้องอก เช่น เยื่อโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเนื้องอกในมดลูก รวมทั้งเสี่ยงเกิดเป็นเนื้อร้ายได้ในกรณีที่ไม่เข้ารับการรักษา เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ( Endometrial Hyperplasia) ส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งมดลูกมักเกิดจากเซลล์ที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมักเรียกมะเร็งชนิดนี้ว่ามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer) ทั้งนี้ ยังอาจเกิดบริเวณกล้ามเนื้อที่ล้อมรอบมดลูก ซึ่งเรียกว่ามะเร็งซาร์โคมา (Uterine Sarcoma) อาการของมะเร็งมดลูก ผู้ป่วยมะเร็งมดลูกมักเกิดอาการต่าง ๆ ขณะที่เนื้อร้ายกำลังเจริญขึ้น ดังนี้ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกจากช่องคลอด หรือผู้ที่รอบเดือนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากภาวะเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติหลังเข้าวัยทองนั้นมีสาเหตุมาจากมะเร็งมดลูก ซึ่งพบเพียง 1 ใน 10 รายเท่านั้น อาการเลือดออกจากช่องคลอดที่เกิดขึ้นจึงอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก หรือติ่งเนื้อในเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งมดลูก สาเหตุของโรคมะเร็งมดลูกยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งเกิดจากโครงสร้างดีเอ็นเอของเซลล์กลายพันธุ์ ส่งผลให้เซลล์เจริญผิดปกติและเกิดเนื้องอกขึ้นมา หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งอาจโตขึ้นและแพร่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือซึมเข้าเลือดและระบบน้ำเหลืองโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูก ดังนี้ การวินิจฉัยมะเร็งมดลูก การวินิจฉัยมะเร็งมดลูกมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอนการตรวจที่ละเอียด เบื้องต้นแพทย์จะซักถามอาการและตรวจร่างกาย ทั้งนี้ แพทย์อาจตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยมะเร็งมดลูกหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ การตรวจสำหรับวินิจฉัยมะเร็งมดลูกมี ดังนี้ การรักษามะเร็งมดลูก วิธีรักษามะเร็งมดลูกมีหลายวิธี แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย โดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ชนิดของเนื้องอก ระดับอาการ อายุ สุขภาพโดยรวม ความต้องการของผู้ป่วย และระยะของมะเร็งที่เป็นอยู่ ซึ่งมะเร็งแต่ละขั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้ วิธีรักษามะเร็งมดลูกวิธีต่าง ๆ ประกอบด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด และการศึกษาทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ การป้องกันมะเร็งมดลูก โรคมะเร็งมดลูกยังไม่ปรากฏวิธีป้องกันโรคได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูกอาจลดโอกาสเสี่ยงได้โดยปฏิบัติดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งมดลูกควรเตรียมตัวรับมือกับอาการป่วยและความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นควรหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยสำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม โดยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระยะมะเร็งที่ป่วย ทางเลือกในการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ พูดคุยปรึกษากับครอบครัว เพื่อนสนิท และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว และทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติ หลังเข้ารับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกจะใช้เวลาพักฟื้นร่างกายประมาณ 6-12 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการยกของหรือทำงานบ้านหนัก ๆ ทั้งนี้ วิธีรักษามะเร็งมดลูกบางวิธี โดยเฉพาะการฉายรังสีบำบัด จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า จึงจำเป็นต้องพักกิจกรรมที่เคยทำสักระยะหนึ่ง รวมทั้งเข้ารับการตรวจกับแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอความหมาย มะเร็งมดลูก