Illness name: Dyshidrotic Eczema
Description: Dyshidrotic Eczema หรือผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่ไม่ร้ายแรง โดยจะเกิดตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณนิ้ว ฝ่ามือ และฝ่าเท้า อาจทำให้รู้สึกปวดและคันอย่างรุนแรง แต่สามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ และอาจกลับมาเกิดซ้ำได้เช่นกัน ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ภูมิแพ้ และความเครียด เป็นต้น อาการจะเริ่มจากเป็นผื่นแดง จากนั้นจะเกิดตุ่มน้ำใสขนาดเล็กขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณฝ่ามือและด้านข้างของนิ้วมือ อาจเกิดที่ฝ่าเท้าได้เช่นกันแต่ก็มีโอกาสน้อย โดยอาจรู้สึกคัน แสบร้อน และปวดร่วมด้วยในบริเวณที่เกิดอาการ บางครั้งอาจทำให้เล็บมีสีเข้มขึ้นหรือมีเหงื่อออกมากขึ้นบริเวณรอบ ๆ ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีตุ่มใสขนาดใหญ่และลุกลามไปที่หลังมือ เท้า แขนและขา หรือมีหนองข้างในตุ่มใสด้วยหากเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเมื่อแผลเริ่มแห้งก็อาจทำให้ผิวหนังแตกหรือเกิดรอยแดงขึ้นได้ โดยปกติแล้ว Dyshidrotic Eczema มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 20-40 ปี และมีโอกาสเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายได้เองภายใน 4 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่หายไปภายในระยะเวลาดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา สาเหตุของ Dyshidrotic Eczema นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนี้ แพทย์สามารถวินิจฉัย Dyshidrotic Eczema ด้วยการสอบถามประวัติทางการแพทย์ และตรวจดูบริเวณผิวหนังที่มีอาการ โดยบางกรณีหากผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อราบนผิวหนังหรืออาจเกิดสะเก็ดเงิน แพทย์อาจส่งชิ้นเนื้อผิวหนังไปตรวจด้วย หรือหากผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ก็อาจต้องตรวจหาภูมิแพ้เพิ่มเติม โดยทั่วไป Dyshidrotic Eczema สามารถหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ หากป่วยไม่รุนแรงก็สามารถดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ที่บ้าน โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เกิดอาการเพื่อช่วยลดการคัน และใช้ครีมหรือมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ สี และการแต่งกลิ่นหอม ทาเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว รวมทั้งไม่เกาหรือแกะบริเวณที่มีอาการ เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยแพทย์จะวิเคราะห์จากอาการ และพิจารณารักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาจากอาการแสบและคัน เพราะจะทำให้มีความลำบากในการดำเนินชีวิต รวมถึงอาจทำให้มือและเท้าทำงานได้ยากลำบากขึ้น เช่น หยิบจับสิ่งของลำบาก หรือเดินลำบาก เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการหนักมาก ผู้ป่วยอาจแสบและคันจนส่งผลให้นอนไม่หลับ หรืออาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้ เนื่องจากยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค Dyshidrotic Eczema ได้ ดังนั้น อาจทำได้เพียงหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ความหมาย ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema)
อาการของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
สาเหตุของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
การวินิจฉัยผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนของผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
การป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ