Illness name: Osteomyelitis+
Description:
Osteomyelitis หรือกระดูกอักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อที่ลุกลามเข้าสู่กระดูก โดยทั่วไปมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็อาจเกิดจากเชื้อชนิดอื่นอย่างเชื้อราได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยมีทั้งอาการแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้กระดูกเกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ Osteomyelitis แบบเฉียบพลันมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วง 7-10 วัน แต่อาจเป็นอาการเรื้อรังที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น โดยลักษณะอาการที่พบส่วนใหญ่มักมีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้ ทั้งนี้ อาการที่เกิดกับเด็กมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรักษาได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งมักเกิดบริเวณกระดูกแขนและขา ส่วนอาการในผู้ใหญ่เกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง และเท้า Osteomyelitis มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย แล้วแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระดูก โดยแบคทีเรียอาจเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Osteomyelitis ได้ง่าย เช่น แพทย์จะวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยด้วยการสอบถามประวัติทางการแพทย์และอาการที่เกิดขึ้น และอาจตรวจร่างกายเพื่อหาบริเวณที่ติดเชื้อด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การรักษา Osteomyelitis จะขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุด้วย ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้ การใช้ยา แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้ปวด โดยอาจฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือให้ยาแบบรับประทาน ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายเดือน การผ่าตัด เป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยด้วย โดยมีตัวอย่างการผ่าตัดรักษาภาวะนี้ เช่น การผ่าตัดเพื่อเจาะเอาหนองออก การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อหรือกระดูกที่ตายออกไปบางส่วน การผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูกหรือเนื้อเยื่อใหม่ การผ่าตัดเอาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใส่เข้าไปในร่างกายแล้วเกิดการติดเชื้อออกมา เป็นต้น แต่หากเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง แพทย์อาจต้องตัดกระดูกที่ติดเชื้อออกทั้งท่อน เพื่อป้องกันเชื้อลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ การป่วยด้วย Osteomyelitis อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ภาวะ Osteomyelitis สามารถป้องกันได้ ดังนี้ การรักษาความสะอาด ผู้ที่มีแผลเปิดควรทำความสะอาดแผลก่อนใช้ผ้าพันแผล เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ หรือผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมก็ควรทำความสะอาดและเช็ดบริเวณนั้นให้สะอาด และหากแผลมีอาการรุนแรงก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่กำลังป่วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรรับการรักษาเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ภาวะ Osteomyelitis ส่วนผู้ที่ป่วยด้วย Osteomyelitis อย่างเรื้อรัง ควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วยให้แพทย์ทราบและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการไม่ให้ป่วยรุนแรงขึ้น การป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ ควรสวมรองเท้าที่เหมาะสมและสวมอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการกระโดด วิ่ง หรือการเล่นกีฬาต่าง ๆ รวมทั้งหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง ไปพบแพทย์เมื่อพบอาการป่วยที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะ Osteomyelitis เนื่องจากหากตรวจพบและรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยป้องกันการป่วยอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง อีกทั้งยังช่วยให้ฟื้นตัวจากการป่วยได้เร็วด้วยความหมาย กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
อาการของกระดูกอักเสบ
สาเหตุของกระดูกอักเสบ
การวินิจฉัยกระดูกอักเสบ
การรักษากระดูกอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกอักเสบ
การป้องกันกระดูกอักเสบ