Illness name: โรคจากการหดรัดของแผ่นเ
Description: Dupuytren's Contracture หรือโรคจากการหดรัดของแผ่นเอ็นฝ่ามือ ส่งผลให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบริเวณมือของผู้ป่วยเกิดการหดตัว รั้งให้นิ้วงอเข้าสู่ฝ่ามือและไม่สามารถเหยียดออกได้ตามปกติ ส่วนมากมักเกิดกับเนื้อเยื่อบริเวณนิ้วนางและนิ้วก้อย ซึ่งอาการจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ โดยอาจใช้เวลาหลายปี อาการของโรค Dupuytren's Contracture อาจส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ของโรคที่แน่ชัด แต่พบว่าโรค Dupuytren's Contracture อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ อีกทั้งยังเป็นโรคที่พบในเพศชายได้มากมากกว่าเพศหญิง อาการในช่วงแรกของโรค Dupuytren's Contracture พบว่าผิวหนังบริเวณอุ้งมือของผู้ป่วยหนาขึ้นจนเกิดรอยนูนหรืออาจเป็นก้อนแข็งขนาดเล็กใต้ผิวหนัง แต่มักไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด จากนั้นก้อนแข็งนี้อาจหนาขึ้นและหดตัว ส่งผลให้เส้นเอ็นหดรั้งไม่ให้ยืดหรือขยับนิ้วได้ และนิ้วอาจถูกรั้งเข้ามาทางฝ่ามือ อาการของโรคสามารถเกิดขึ้นได้กับมือทั้งสองข้าง พบได้บ่อยบริเวณนิ้วนางและนิ้วก้อย โดยอาการจะเพิ่มความรุนแรงอย่างช้า ๆ และอาจกินเวลานานหลายปี หากอาการอาจรุนแรงขึ้นอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหยิบของหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำได้ตามปกติ บางรายอาจมีผังผืดหนาเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือมีภาวะอวัยวะเพศชายโค้งงอร่วมด้วย ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค Dupuytren's Contracture อย่างชัดเจน และจากการศึกษายังไม่พบว่าการใช้งานมืออย่างหนักหรือการได้รับบาดเจ็บในบริเวณมือจะเป็นสาเหตุของโรค แต่คาดกันว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับระบบพันธุกรรม การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดสารอาหาร หรือการใช้ยารักษาโรคลมชักบางชนิด นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Dupuytren's Contracture มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ครอบครัวมีประวัติการป่วยด้วยโรคนี้ ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ และป่วยด้วยโรคเบาหวาน แพทย์จะสอบถามข้อมูลสุขภาพทั่วไป ประวัติทางการแพทย์และอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยอาจได้รับการถ่ายทอดโรค Dupuytren's Contracture ผ่านทางพันธุกรรม ขั้นต่อมาจะตรวจมือ ทดสอบความยืดหยุ่นบริเวณนิ้วมือ มีการวัดกำลังของมือในท่ากำและจับ โดยในระหว่างการตรวจ แพทย์จะจดบันทึกตำแหน่งที่เกิดตุ่มหรือร่องรอยบนฝ่ามือ และใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อทดสอบการขยับ การงอหรือการหดของนิ้วมือ ทดสอบความรู้สึกในบริเวณนิ้ว บางกรณีอาจนำภาพถ่ายภาพเอกซเรย์มาใช้วินิจฉัยร่วมด้วย โดยแพทย์จะทำการตรวจเป็นระยะเพื่อนำผลของแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอาการตลอดการรักษา Dupuytren's Contracture ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่อาการของโรคจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ในเวลาหลายปี และอาการที่เกิดขึ้นมักไม่ส่งผลให้เกิดอันตราย ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังเกิดก้อนนูนบริเวณฝ่ามือหรือมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แพทย์จึงจะรักษาผู้ป่วยโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการและปัจจัยของแต่ละคน ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วย Dupuytren's Contracture ปกป้องบริเวณฝ่ามือในขณะหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องมือก่อสร้างที่ต้องจับด้ามจับแน่น ๆ ควรใช้ท่อและเทปกันกระแทกมาช่วย หรือใส่ถุงมือที่มีความหนาขณะยกของหนัก อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นอาจแย่ลงแม้ผู้ป่วยจะระมัดระวังแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากอาการของผู้ป่วยรุนแรงขึ้น แพทย์จะรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้ ในขั้นตอนแรกแพทย์จะรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดเพื่อชะลออาการ เช่น เป็นการใช้ยาในกลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ฉีดเข้าไปในบริเวณก้อนนูนเพื่อต้านการอักเสบหรืออาจฉีดเพื่อชะลอการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำ เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มลงไปเพื่อสลายการหดเกร็งของเส้นเนื้อเยื่อบริเวณนิ้ว โดยสามารถฝังเข็มได้หลายนิ้วพร้อมกันและรักษาได้ซ้ำหลายครั้ง แต่ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ภายหลังการรักษา อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มอาจทำได้เฉพาะบางบริเวณของนิ้วเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาท แพทย์จะฉีดเอนไซม์เข้าไปยังฝ่ามือในบริเวณที่มีอาการตึงเพื่อให้อ่อนหรือนุ่มลง และช่วยสลายการหดเกร็งของเส้นเนื้อเยื่อบริเวณนิ้ว ผู้ที่มีอาการของโรค Dupuytren's contracture รุนแรง แพทย์จะผ่าตัดเพื่อลดการหดตัวหรือความตึงของกล้ามเนื้อ และช่วยให้สามารถขยับนิ้วมือได้มากขึ้น แม้หลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีเนื้อเยื่อแบบเดิมเกิดขึ้นซ้ำได้ การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดค่อนข้างได้ผลดีกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น ภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพบำบัดหรือใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษานานขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แพทย์จะกำจัดเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับอาการออกทั้งหมด โดยวิธีนี้แพทย์จำเป็นจะต้องปลูกถ่ายผิวหนังเพื่อปิดบาดแผลจากการผ่าตัด ซึ่งจะเป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกายนานที่สุด อาการที่เกิดขึ้นของ Dupuytren's Contracture อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้มือได้ตามปกติ โดยอาจทำให้ไม่สามารถเขียนหนังสือ กางนิ้ว แบมือ หยิบของชิ้นใหญ่หรือสอดมือเข้าไปในที่แคบได้ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด จึงยากที่จะป้องกันโรค Dupuytren's Contracture แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังในการใช้ยาบางชนิด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบหรือเลิกสูบบุหรี่ความหมาย โรคจากการหดรัดของแผ่นเอ็นฝ่ามือ (Dupuytren's Contracture)
อาการของโรค Dupuytren's Contracture
สาเหตุของโรค Dupuytren's Contracture
การวินิจฉัยโรค Dupuytren's Contracture
การรักษาโรค Dupuytren's Contracture
การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนของโรค Dupuytren's Contracture
การป้องกันโรค Dupuytren's Contracture